- ฮวงจุ้ยพื้นฐาน
- รูปภาพและความหมาย
- ฮวงจุ้ยสำนักงาน
- ฮวงจุ้ยที่ดิน
- ฮวงจุ้ยร้านค้า
- ฮวงจุ้ยบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
- ข้อห้ามเกี่ยวกับการเลือกที่อยู่อาศัย
- ทำเลเสียดูอย่างไร
- ดาว ๙ ยุคคืออะไร
- ดวงจีน
- การดูลักษณะภูเขา
- กรณีศึกษาฮวงจุ้ย
- ประสบการณ์การดูทำเลของอาจารย์แอน
- คำคม..ข้อคิด
- เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
- เกร็ดความรู้ที่ได้จากวรรณคดี
- บทความพิเศษ
14 เม.ย. 2559
บัญญัติข้อที่สิบของเถาจูกง "การวิเคราะห์และเข้าใจการตลาดก่อนซื้อและขายสินค้า"
การเก็งการณ์ล่วงหน้าของเถาจูกง วิเคราะห์จากพฤติกรรมของบุคคล เช่น เขาเคยเก็งการณ์หาซื้อสินค้าผ้าไหมในฤดูกาลหว่านทำนา เพราะไม่มีใครสนใจจะแต่งตัว สินค้าประเภทนี้จึงมีราคาถูก และหาซื้อได้ง่าย แต่หลังจากสิ้นฤดูเก็บเกี่ยว ชาวไร่ชาวนาขายผลผลิตได้ ก็ต้องหาซื้อเสื้อผ้าใหม่ ถึงตอนนั้นเขาก็สามารถทำกำไรได้
ในยุคสมัยของเถาจูกง อาจไม่ได้เป็นบรรทัดฐาน หรือเป็นแบบอย่างที่ใช้ได้ในปัจจุบัน แต่ก็เป็นแบบอย่างของการวิเคราะห์ตลาด รวมถึงการวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมการใช้เงินหรือการซื้อสินค้าของบุคคลทั่วไป จากหนังสือ “กฎทองการค้าของเถาจูกง” โดยสีฮุย เล่าว่า
“บุรุษผู้หนึ่งนามว่า ไป๋กุย เคยคำนวณว่า วัฎจักรของการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นทุก 12 ปี ในแต่ละรอบ จะมีการเปลี่ยนแปลงย่อยทุกๆ ปี โดยจะแบ่งเป็น 3 ปีแห่งความมั่งคั่งสลับกัน 3 ปีแห่งความแร้นแค้น วนเวียนกันไป ในช่วง 3 ปีนั้น ปีใดเก็บเกี่ยวผลผลิตมาก ก็ซื้อผลผลิตทางการเกษตรใส่ยุ้งฉางไว้แล้วขายสินค้าหัตถกรรมออกไป และเมื่อถึงปีที่เก็บเกี่ยวได้น้อย เขาก็จะหันมาเก็บสะสมงานหัตถกรรม และขายผลผลิตทางการเกษตรออกไป ด้วยวิธีนี้เขาจึงมีกำไรอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นช่วงเฟื่องฟูหรือแร้นแค้น”…..และ
“เถาจูกง นำฝ้าย 12 มัดในโรงเก็บสินค้าออกไปขายที่แคว้นอู๋และเยว่ ทั้งๆที่สามารถขายได้ที่เมืองหลวงแคว้นฉินซึ่งใกล้กว่า แต่เถาจูกงให้เหตุผลว่า ในเมืองหลวง อากาศแห้งไม่เหมาะสำหรับการทอผ้าฝ้าย ทำให้ราคาฝ้ายต่ำ ส่วนที่แคว้นอู๋และเยว่อากาศชื้นกว่า ฝ้ายจะได้ราคา ซึ่งกาลต่อมาก็เป็นไปตามที่เถาจูกงคาดการณ์ กล่าวคือ ขายฝ้ายที่แคว้นอู๋แคว้นเยว่ได้กำไรถึง 3 เท่า แถมขากลับ ก็หาซื้อสินค้าท้องถิ่นที่ราคาถูกกว่าที่เมืองหลวงกลับไปขายได้กำไรถึง 6 เท่าตัว”
จากตัวอย่างในเรื่องราวของเถาจูกง เห็นได้ว่า ท่านอาศัยปัจจัยสองประการ ได้แก่ ความสังเกตในเรื่องธรรมชาติที่มีผลต่อผลผลิต และความสังเกตในความต้องการสินค้า คือความต้องการของตลาด เพราะราคาสินค้าจะขึ้นหรือลงก็เป็นไปตามความต้องการของตลาดนั่นเอง
ปัจจุบันเราคงไม่อาจเดินตามรอยท่านเถาจูกง ที่จะเดินทางไปค้าขายภาคอื่นๆ หรือเอาสินค้าภาคอื่นมาขายในเมืองหลวง เพราะปัจจุบันมีระบบที่แน่นอนตายตัว สินค้าของทุกภาคหาซื้อได้ง่าย จึงเป็นเรื่องของการค้าขายเครื่องอุปโภคบริโภค หรือ การค้าระหว่างประเทศ ที่ต้องอาศัยหลักของเถาจูกงมาปรับประยุกต์ใช้เพื่อก่อให้เกิดผลกำไรมากที่สุด