- ฮวงจุ้ยพื้นฐาน
- รูปภาพและความหมาย
- ฮวงจุ้ยสำนักงาน
- ฮวงจุ้ยที่ดิน
- ฮวงจุ้ยร้านค้า
- ฮวงจุ้ยบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
- ข้อห้ามเกี่ยวกับการเลือกที่อยู่อาศัย
- ทำเลเสียดูอย่างไร
- ดาว ๙ ยุคคืออะไร
- ดวงจีน
- การดูลักษณะภูเขา
- กรณีศึกษาฮวงจุ้ย
- ประสบการณ์การดูทำเลของอาจารย์แอน
- คำคม..ข้อคิด
- เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
- เกร็ดความรู้ที่ได้จากวรรณคดี
- บทความพิเศษ
1 ก.ค. 2558
เรียนโหราศาสตร์ จากวรรณคดี เรื่อง รามเกียรติ์/๒๒ ดวงประเทียบ ทศกัณฐ์
โดย อาจารย์แอน
ดวงประเทียบ ทศกัณฐ์ ๑๑
การศึกษาวิชาโหราศาสตร์ ต้องรู้ไปถึง อวัยวะต่างๆ ประจำราศีด้วย เพราะจะเกี่ยวข้องกับโรคภัยไข้เจ็บ จะปวดหัว ตัวร้อน แก่ไว แก่ช้า คือ สองอันแรก บอกได้แม่นยำ สองอันหลังนี่ต้องเดา แล้วแต่ความสามารถและวิจารณญาณ เพราะถึงแก่ไว ก็ต้องทายว่าแก่ช้าหน้าอ่อน อยู่ดี ใครจะกล้าบอกคนหน้าแก่ตรงหน้า ให้เสียน้ำใจกัน จริงไหม การพยากรณ์ นี่ อย่างที่ทศกัณฐ์สอนพิเภก ว่าจะพยากรณ์ถึงแม่นยำอย่างไร ต้องรู้จักวิธีพูดด้วย
กลับมาเข้าเรื่องราศีกับอวัยวะ
ส่วนศีรษะ อยู่ที่ ราศีเมษ
ส่วนหน้า คอ อยู่ที่ ราศีพฤษภ
ส่วนไหล่ แขน อยู่ที่ ราศีเมถุน
ส่วนอก อยู่ที่ ราศีกรกฏ
หัวใจ อยู่ที่ ราศีสิงห์
ส่วนท้อง อยู่ที่ ราศีกันย์
ส่วนกระเพาะปัสสาวะ หรือ ท้องน้อย อยู่ที่ ราศีตุลย์
ส่วนสะโพก อยู่ที่ ราศีพิจิก
ส่วนต้นขา อยู่ที่ ราศีธนู
ส่วนเข่า อยู่ที่ ราศีมังกร
หน้าแข้ง อยู่ที่ ราศีกุมภ์
และที่เท้า คือ ราศีมีน
ดังนั้น หากราศีใด มีดาวบาปเคราะห์สถิต หรือ จรมารุมเร้ามากๆ คือ อวัยวะส่วนนั้น ย่อมเจ็บไข้ เสียหายไปด้วย
แต่อย่าไฟธาตุแตก ไปแปลว่า ลัคนาเรา สถิต ราศีมีน คือ ลัคนาสถิตที่เท้า นี่แปลผิดนะ ให้แปลว่า คนที่มีลัคนาราศีมีน อยู่ไม่ติดที่ หากมีดาวบาปเคราะห์ หรือ ๔ ดาวที่เป็นนิจ เกาะกุม มักเจ็บที่ข้อเท้า และมีจุดอ่อนอยู่ที่ท้อง เพราะดาว ๔ เป็นดาวประจำราศีกันย์ ส่วนท้องด้วย
จุดเด่นของทศกัณฐ์ คือ ส่วนหน้า และแขน ดังนั้น ยายจึงให้ ดาวบาปเคราะห์ไปชุมนุมที่ราศี เมษ พฤษภ และ เมถุน ส่วน ดาว ๕ จากภพมรณะ มาสถิตที่ราศีสิงห์ ราศีกล่องดวงใจ ที่ถูกหนุมานขโมยมาขยี้ นั่นแหละ
และลูกเล่นคือ ดูโขนยกรบ ทีไร ทศกัณฐ์เหนื่อยมาก โดยเฉพาะต้นขาจะถูกเหยียบโดยพระราม พระลักษณ์ ตลอด จุด
อ่อน ก็อยู่ที่นี่
เรื่องอวัยวะประจำราศี จะมีนัยอันลึกซึ้งที่จะต้องค่อยๆ ศึกษาจากประสบการณ์ของผู้ศึกษาด้วย ถึงจะทายเรื่องโรคภัยได้อย่างแม่นยำ