สาระจากเมืองมังกร

 

สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 62 พุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีน โดย อาจารย์แอน
3 ม.ค. 2557

 

สรุปบทความจากรายการ

"สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 62 พุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีน"

ออกอากาศทาง TNN2 Truevision ช่อง 8ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 20.20 - 20.30น.

 

 

                พุทธศาสนาเข้ามาในประเทศจีนครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฮั่น ซึ่งอยู่ในระหว่าง ปี พ.ศ. 300-500ความเจริญของพุทธศาสนาในประเทศจีนผ่านมาทางเส้นทางสายไหม หากใครเคยไปเที่ยวเส้นทางสายไหม จะเห็นรูปปั้นของพระถังซัมจั๋ง เห้งเจีย ซัวเจ๋ง ตือโป๊ยก่าย แต่จริงๆ แล้วภิกษุผู้ที่ใช้เส้นทางสายไหมคนแรก คือ หลวงจีนฟาเหียน

 

 ประวัติศาสตร์จีน, ฮั่น, เส้นทางสายไหม, ถังซำจั๋ง, ฟาเหียน, เต๋า

 

 

ในประเทศอินเดียมีการจดบันทึกเอาไว้ ปรากฏชื่อของพระภิกษุจีนนามว่าฟาเหียน ซัวจั้ง และก็อี้จิง แต่บุคคลสำคัญที่สุดคนแรกที่ฝ่าแดนกันดารไปได้ คือ หลวงจีนฟาเหียน ซึ่งต้องใช้เวลาในการเดินทาง 2-3ปี โดยใช้เส้นทางสายไหมทางมณฑลซินเกียง สู่ปากีสถาน แคชเมียร์ และก็ลงสู่ประเทศอินเดีย หลวงจีนฟาเหียนไปถึงอินเดียและคัดลอกพระไตรปิฎกมา ซึ่งอนุมานแล้วก็คืออยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช ในช่วงนั้นคือ พ.ศ.ประมาณปี 300 400ถึง 500เป็นรัชสมัยในการเผยแพร่พุทธศาสนาของพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งในตอนนั้น พระเจ้าอโศกมหาราชก็ให้เผยแพร่พระพุทธศาสนาถึง 7แคว้นด้วยกัน และประเทศจีนทางด้านตอนเหนือก็อยู่ใน 1ใน 7แคว้นนั้นด้วย ประกอบกับตอนหลัง หลวงจีนฟาเหียน ก็ได้ไปท่อง ณ สถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังเวชนียสถาน จึงได้มีการจดบันทึกในประเทศอินเดียด้วย ว่ามีหลวงจีนจากประเทศจีนไปด้วย ก็ไปคัดลอกพระไตรปิฎกมา และก็เดินทางกลับมา นำมาเผยแพร่
 

  ประวัติศาสตร์จีน, ฮั่น, เส้นทางสายไหม, ถังซำจั๋ง, ฟาเหียน, เต๋า 

 

ในประเทศจีนขณะนั้น ลัทธิเต๋าและลัทธิหยูต่างก็เฟื่องฟู พุทธศาสนาที่เข้ามามิได้ขัด กลับมีความคล้อยตาม ทั้งช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ การพูดจาดี การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ก็สอดคล้องกับลัทธิเต๋า ที่ช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อมีโอกาส เผื่อแผ่เมตตา และก็ถือหลักธรรมชาติเป็นสำคัญ พุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงไม่ได้ขัดแย้งกันมากในรัชสมัยนั้น ซึ่งในเวลาต่อมา ลัทธิเต๋ากับพุทธศาสนานั้นควบคู่กันไป ในบางช่วงบางตอน เมื่อพระมหากษัตริย์มีความเชื่อในเรื่องของเต๋า ก็จะเชิดชูและสร้างวัดเป็นจำนวนมาก และเมื่อใดก็ตามเมื่อพระมหากษัตริย์เลื่อมใสพระพุทธศาสนา มีการฟื้นฟูและสร้างวัดพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ความเจริญจึงควบคู่กันตลอดมาก ส่วนทั้งสองศาสนาไม่ว่าเป็นลัทธิเต๋าหรือศาสนาพุทธนั้น ไม่ขัดต่อประเพณีหรือศีลธรรมที่มีมาดั้งเดิมคือจริยธรรมของลัทธิหยู เนื่องจากเป็นไปตามคำขอของพระมหากัสสปะที่ได้ทูลขอพรจากพระพุทธเจ้าไว้ว่า หากพระพุทธศาสนาสู่ประเทศใด ก็ขอให้ปรับเปลี่ยนไปตามท้องถิ่นนั้นๆ ดังนั้น พุทธศาสนาที่เข้าสู่ประเทศจีนเป็นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฮั่นจึงสามารถประดิษฐานอย่างมั่นคงตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

 

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
  • พิชัยสงครามกับสามก๊ก ตอนที่ ๕๙ - ตั้งลกซุนเป็นแม่ทัพ
  • พิชัยสงครามกับสามก๊ก ตอนที่ ๕๕/๒ - ซุนกวนยึดเกงจิ๋ว
  • พิชัยสงครามกับสามก๊ก ตอนที่ ๕๕/๑ - ซุนกวนยึดเกงจิ๋ว
  • พิชัยสงครามกับสามก๊ก ตอนที่ ๕๒/๓ - ศึกเสฉวน
  • พิชัยสงครามกับสามก๊ก ตอนที่ ๕๒/๒ - ศึกเสฉวน
  • พิชัยสงครามกับสามก๊ก ตอนที่ ๕๒/๑ - ศึกเสฉวน
  • พิชัยสงครามกับสามก๊ก ตอนที่ ๒๑ – ดวงดาวที่แสดงถึงความสำเร็จ
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 106 สาเหตุความเชื่อเรื่องเซียนโดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 74 ความแตกแยกเริ่มต้นในสมัยพระเจ้าฮั่นเลนเต้ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 72 พิธีเซ่นบวงสรวงเริ่มจากธรรมชาติ โดย อาจารย์แอน