ความรู้เกี่ยวกับโหราศาสตร์

 

อิทธิพลดาวกุมลัคน์ (ดาวเกตุ)
6 ก.ย. 2553

 

(บทความจากการอบรมของอาจารย์ษณอนงค์ คำแสนหวี นี้ได้รับการรวมรวมขึ้นโดยคุณกาญจนา คงเจริญนิวัติ – สงวนลิขสิทธิ์)


ดาว (๙) นำหน้าลัคนาหรือดาวดวงไหนก็ตาม ถือเป็นทุรารัมภะ


พระเกตุในทางดาราศาสตร์ไม่มีดาวเกตุหรือคำว่าเกตุ แต่ในทางโหราฯ จะกล่าวไว้ในตำนานดวงดาวของฮินดู ซึ่งถ้านำมาเทียบกับทางดาราศาสตร์ ก็เท่ากับเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนท้องฟ้าอุบัติขึ้นโดยที่ไม่ได้มีการ คาดหมายมาก่อน อาจจะเป็นในลักษณะของดาวตก อุกกาบาต  หรือผีพุ่งไต้ หรือการระเบิดของดวงดาว
ในทางโหราฯ ได้เพิ่มเติมไว้ว่า “มันเป็นเหตุการณ์ที่อุบัติขึ้น อาจจะโดยกรรมหรืออะไรก็แล้วแต่ที่มันเกิดขึ้นอย่างกระทันหัน อุปติฆาตกรรมก็คือดาว (๙), กระแสที่เกิดขึ้นจากการกระทำปัจจุบันของคนโดยไม่มีกรรมเก่าสืบเนื่อง คือเป็นความคิด อารมณ์อันเกิดจากสภาพแวดล้อม คือดาว (๙)


ดาว (๙) บางครั้งจึงเป็นตัวแปรให้สถานการณ์ต่างๆ มีความเคลื่อนไหว เรียกว่าวุ่นวายเกิดขึ้น  แล้วไปใกล้ตรงไหนมันอาจจะก่อให้เกิดสิ่งอะไรที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้


เพราะฉะนั้นดาว (๙) จึงเป็นตัวแทนวัตถุที่เหมือนกับอะไหล่ ที่ไปเสริมไปเพิ่มไปเติม ที่อาจจะทำให้เกิดระเบิดก็ได้ หรือให้เกิดความเคลื่อนไหว หรือให้เกิดมีกำลังแรง


โดยสรุป ฉะนั้นกำลังของพระเกตุจึงมีในลักษณะไปอยู่กับดาวดวงไหน ก็ไปเสริมให้ดาวดวงนั้นมีกำลังแรง ทางโหราฯจึงเรียกว่า “อัพยากฤต” เป็นกลางๆ เป็นตัวเร่ง เป็นตัวมอเตอร์ เป็นน้ำมัน  สุดแต่จะเปรียบเทียบกัน