ความรู้เกี่ยวกับโหราศาสตร์

 

หลักทักษาในวิชาโหราศาสตร์ ตอนที่ ๖
27 ต.ค. 2558

 

หลักทักษาไม่ใช่ลูกเล่นของโหร มีความซับซ้อน ละเอียด แต่ตำราบางอย่างก็สูญหายไป บางช่วงบางตอนก็ขัดแย้งกันเอง  ดังนั้น โหรไทยถึงไม่ใช้ เพราะเห็นว่า ในวิชาโหราศาสตร์ไทยมีความละเอียดเพียงพอแล้ว ก็เลยใช้เพียง เดช ศรี มนตรี กาลกิณี มาเป็นองค์ประกอบในการพยากรณ์  แต่ในความเป็นทักษา ถ้าศึกษาอย่างลึกซึ้งและค้นคว้าอย่างจริงจัง จะเห็นว่ามีความพิสดารในการพยากรณ์ และยิ่งถ้าเอาความพิสดารนั้น มาเป็นองค์ประกอบร่วมกับการพยากรณ์ดวงชะตาแล้วจะได้ความละเอียดมากขึ้น

 

ทักษา, พยากรณ์, โหราศาสตร์, อาจารย์แอน, ดูดวง,ดาวประจำวัน

 

ทักษา สามารถนำมาใช้ในเรื่องทิศมงคลได้ด้วย เพราะทักษาเป็นเรื่องของทิศ  เราสามารถสังเกตได้อย่างหนึ่งว่า ในหลักของเขาพระสุเมรุ มีความคล้ายคลึงกับหลักของจีนในเรื่อง ๕ ธาตุ ๘ ทิศ  เมื่อเอา ๒ ศาสตร์มาเปรียบเทียบกัน จะเห็นความเปรียบที่คล้ายคลึงกันอย่างน่าอัศจรรย์  หลักเขาพระสุเมรุก็เหมือนกับ ๘ ทิศ มีทิศเฉียง ทิศตรงเหมือนกัน และแต่ละทิศ ก็มีความสำคัญ ทางจีนก็มีบอกว่าทิศไหน เป็นประตูมงคล ประตูตาย  ทักษาก็มี อย่างเช่น ดาวพุธประจำทิศใต้ ดาวศุกร์ประจำทิศเหนือ ดาวจันทร์ประจำทิศตะวันออก ดาวพฤหัสประจำทิศตะวันตก  ดังนั้น ดาวอาทิตย์ก็จะเป็นตะวันออกเฉียงเหนือ ดาวอังคารเป็นตะวันออกเฉียงใต้ ดาวเสาร์ก็จะเป็นตะวันตกเฉียงใต้ และดาวราหูก็เป็นตะวันตกเฉียงเหนือ ดาวเกตุอยู่ตรงกลาง ดังนั้นเมื่อดาวเกตุเป็นกลางและก่อนเข้าดาวเกตุคือดาวอาทิตย์ อาทิตย์กับเกตุจึงเป็นอัพยากฤษคือดาวกลาง

 

เกิดวันอาทิตย์ ทิศศรีของคนเกิดวันอาทิตย์คือทิศใต้  เกิดวันจันทร์ ทิศศรีของคนเกิดวันจันทร์คือตะวันตกเฉียงใต้ เราก็เอาหลักอันนี้มาใช้ในการสร้างบ้านสร้างเมือง  อย่างเช่นจังหวัดเชียงใหม่หลังอิงทิศตะวันตก หน้าหันไปทิศตะวันออก ทิศศรีของเมืองอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ คือตำแหน่งแจ่งศรีภูมิ  กรุงอังวะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีแม่น้ำเมียะ เงไปบรรจบกับแม่น้ำอิรวดีตรงด้านตะวันออกเฉียงเหนือ จุดนั้นสร้างหอคอยขึ้นมาในตำแหน่งทิศศรีและมีแม่น้ำมาบรรจบที่ทิศนั้นอีกหนึ่งชั้น เมืองจึงมีความอุดมสมบูรณ์ กรุงอังวะจึงมีอายุยืน ๔๐๐ ปี  ดังนั้นนอกจากใช้ทักษาในการสร้างเมืองแล้ว ตำแหน่งศรีก็ต้องทำให้ดีและโดดเด่น อย่างเช่นเมืองเชียงใหม่ ชีม่านมาหลอกทำลายตำแหน่งศรี เชียงใหม่ก็แตก

 

อย่างนี้เป็นหลักพิชัยสงคราม แปลว่า หลักในการทำยุทธเพื่อชัยชนะ รวมทั้งหมด ทั้งการรบ หลักการจัดทัพ และเอาหลักทักษาเข้าไปผนวกในเรื่องของนามด้วย เช่น อาทิตย์เป็นครุฑนาม ดาวจันทร์เป็นพยัคฆ์นาม ดาวอังคารเป็นสิงหนาม ดาวพุธเป็นสุนัขนาม ดาวเสาร์เป็นนาคนาม ดาวพฤหัสเป็นมุสิกนาม ดาวราหูเป็นคชนาม ดาวศุกร์เป็นอัชนาม และนามต่างๆเหล่านี้จะบอกพื้นที่ ว่าลักษณะแบบนี้เรียกว่าอะไร เช่น ลักษณะเป็นหมู่บ้านเป็นสุนัขนาม พื้นที่โปร่งโล่งซึ่งไม่เหมาะกับการรบเลยเป็นอัชนาม มุสิกนามคือลงใต้ดิน  การรบบนภูเขาถ้าไม่เป็นครุฆนามก็สิงหนาม ถ้ารบในที่หนองที่ลุ่มอย่างการทำยุทธหัตถีเป็นนาคนาม

 

ทักษา, พยากรณ์, โหราศาสตร์, อาจารย์แอน, ดูดวง,ดาวประจำวัน