- ฮวงจุ้ยพื้นฐาน
- รูปภาพและความหมาย
- ฮวงจุ้ยสำนักงาน
- ฮวงจุ้ยที่ดิน
- ฮวงจุ้ยร้านค้า
- ฮวงจุ้ยบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
- ข้อห้ามเกี่ยวกับการเลือกที่อยู่อาศัย
- ทำเลเสียดูอย่างไร
- ดาว ๙ ยุคคืออะไร
- ดวงจีน
- การดูลักษณะภูเขา
- กรณีศึกษาฮวงจุ้ย
- ประสบการณ์การดูทำเลของอาจารย์แอน
- คำคม..ข้อคิด
- เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
- เกร็ดความรู้ที่ได้จากวรรณคดี
- บทความพิเศษ
23 ต.ค. 2556
สรุปบทความจากรายการ
"สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 46 จุดจบของรัฐฉิน"
ออกอากาศทาง TNN2 Truevision ช่อง 8 ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 20.20 - 20.30 น.
เราได้เรียนรู้ความเจริญของรัฐฉินและบุคคลสำคัญรวมไปถึงคุณสมบัติที่สำคัญ คราวนี้มาถึงจุดจบของรัฐฉิน เวลาเราจะทำอะไรก็ตาม ควรพิจารณาว่ากำลังเข้าสู่ทางแห่งความเสื่อมหรือไม่ ดังเช่นรัฐฉินซึ่งเรืองอำนาจจนนำความฮึกเหิมลำพองมาสู่หลายๆ คน เพราะการสมบูรณ์ด้วยลาภผล ยศ อำนาจ หรือเงินทองทรัพย์สินนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงบุคคลได้ ตัวแปรสำคัญในความเสื่อมของรัฐฉินมีด้วยกันสองคน คือขันทีจ้าวเกา (趙高) ซึ่งเป็นเพื่อนเล่นในวัยเด็กของจิ๋นซีฮ่องเต้
คำว่าฮ่องเต้ใช้ครั้งแรกในสมัยจิ๋นซีนี้เอง เนื่องจากเห็นว่า คำว่า อ๋อง นั้นเล็กไปสำหรับผู้ที่จะปกครองทั้งประเทศ ควรต้องใช้คำว่า หวงตี้ หรือ ฮ่องเต้ หรือจักรพรรดินั่นเอง แต่ว่าเรารู้จักคุ้นเคยกับคำว่า ฮ่องเต้ การเสื่อมเกิดขึ้นได้อย่างไร ปั้นปลายชีวิตของจิ๋นซี นอกเหนือจากภาระอันหนักที่ต้องกระทำมาตลอดชีวิตเพื่อความเป็นปึกแผ่นของประเทศแล้ว ยังมีเรื่องของยาอายุวัฒนะ ซึ่งถึงอย่างไรก็ตาม ไม่สามารถจะยืดชีวิตได้ ความกลัวตายของจิ๋นซี ออกมาในรูปแบบที่เราสามารถเห็นเป็นรูปธรรมในปัจจุบันนี้ จากการขุดค้นพบสุสาน ซึ่งมีทหาร รถม้า ผู้คนเป็นจำนวนมากอยู่ในสุสาน จากแนวคิดว่า ยามไปสู่โลกหน้าก็จะมีผู้คนและทรัพย์สินสิ่งของติดตามไปเป็นเพื่อน และก็เป็นที่มาของการเผากระดาษเงินกระดาษทอง หรือว่าเผารูปตุ๊กตาคนใช้ไปให้กับบรรพบุรุษนั่นเอง
แต่ความเสื่อมที่ปรากฏอย่างเด่นชัด ก็คือ ขันทีจ้าวเกาเกรงว่าหากจิ๋นซีตายไปแล้วตัวเองคงจะหมดอำนาจ จึงเลือกรัชทายาทที่ตนเองสามารถควบคุมได้ ก็คือบุตรชายคนรองของจิ่นซี มีนามว่า หูไห่ ซึ่งหัวอ่อน ไม่มีความสามารถเท่าบุตรชายคนโตชื่อ ฝูซู (徐福) ดังนั้น องค์ชายจึงถูกแผนการยุยง โดยร่วมมือกับเสนาบดีหลี่ซือ ส่งไปอยู่ชายแดนกับแม่ทัพเมิ่งเถียน (蒙恬) ในวันที่จิ๋นซีสวรรคต มีหนังสือลับไปถึงเมิ่งเถียนให้ประหารฝูซู ด้วยข้อหาสงสัยว่าจะเป็นกบฏ ส่วนข่าวคราวการสิ้นพระชนม์ของจิ๋นซีฮ่องเต้นั้นไม่ได้เปิดเผยสู่ภายนอก จนกระทั่งแต่งตั้งรัชทายาทองค์ใหม่ ก็คือองค์ชายหูไห่ ผู้เป็นศิษย์ของจ้าวเกาเอง นั่นคือต้นเหตุของความเสื่อมคือ เริ่มหลอกลวงประชาชน มีการแก่งแย่งรักษาอำนาจของตนเอง ควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในมือ เพราะควบคุมฮ่องเต้ได้ก็เสมือนเป็นเจ้าของแผ่นดิน ต่อมาขันทีจ้าวเกามีอำนาจเหนือฮ่องเต้องค์ใหม่มากขึ้น ถึงขนาดเป็นที่มาของสุภาษิต ชี้กวางให้เป็นม้า เหตุการณ์ตอนนี้เป็นการทดสอบอำนาจของตนเองว่ายิ่งใหญ่ขนาดไหน แต่ขันทีก็คือขันที ไม่สามารถที่จะปกครองประเทศได้
ความเจริญของรัฐฉินมีอะไรบ้าง ในขณะที่จ้าวเกาและหลี่ซือขึ้นครองอำนาจ ทั้งสองคนแก่งแย่งชิงอำนาจกันเองไม่สามัคคีกัน ความเสื่อมก็ปรากฏขึ้นแล้วในสมัยกษัตริย์องค์ที่สอง คือเจ้าชายหูไห่ ในที่สุดถูกลอบปลงพระชนม์ องค์ที่สามที่ขึ้นครองคือ เจ้าชายจื่ออิง(子嬰) ซึ่งเป็นหลานห่างๆ เจ้าชายจื่ออิงเป็นคนฉลาด ก็หาเหตุและวางแผนจนประหารจ้าวเกาได้เป็นผลสำเร็จ ในตอนนั้นเริ่มเกิดสงครามต่อต้านขึ้นมาแล้ว เพราะการปกครองของจ้าวเกานั้น เป็นการปกครองแบบเอาประโยชน์ส่วนตน เกิดการคอรัปชั่นขึ้นมากมาย มีกบฏทั่วดินแดน และแม้จะเป็นกบฏ แต่หากต่อมาคือผู้ชนะก็ถือว่าเป็นเจ้าไม่เรียกกบฏแล้ว เมื่อฝ่ายชนะเข้าเมืองได้ เจ้าชายจื่ออิงจำต้องสละราชบัลลังก์ จึงเป็นอันจบสิ้นรัชสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้แต่เพียงเท่านี้