- ฮวงจุ้ยพื้นฐาน
- รูปภาพและความหมาย
- ฮวงจุ้ยสำนักงาน
- ฮวงจุ้ยที่ดิน
- ฮวงจุ้ยร้านค้า
- ฮวงจุ้ยบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
- ข้อห้ามเกี่ยวกับการเลือกที่อยู่อาศัย
- ทำเลเสียดูอย่างไร
- ดาว ๙ ยุคคืออะไร
- ดวงจีน
- การดูลักษณะภูเขา
- กรณีศึกษาฮวงจุ้ย
- ประสบการณ์การดูทำเลของอาจารย์แอน
- คำคม..ข้อคิด
- เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
- เกร็ดความรู้ที่ได้จากวรรณคดี
- บทความพิเศษ
13 ก.ค. 2556
สรุปบทความจากรายการ
"สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 23 เล่าจื้อ ผู้แต่งเต๋าเต็กเก็ง"
ออกอากาศทาง TNN2 Truevision ช่อง 8 ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 20.20 - 20.30 น.
ในยุคปราชญ์ร้อยสำนัก เราเพิ่งรู้จักขงจื้อกับลูกศิษย์ของเขา แต่ปราชญ์ร่วมสมัยยังมีท่านอื่นๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นเล่าจื้อ จางจื้อ เลี่ยงจื้อ เอี้ยงจื้อ หรือม่อจื้อ คำว่า จื้อ จะมีความหมายที่ใกล้เคียงสำหรับเรียกบุคคลที่เคารพ คล้ายกับเราเรียกครูบาอาจารย์
เล่าจื้อ (老子) เป็นผู้แต่งคัมภีร์เต๋าเต็กเก็ง (道德經) ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ
ในยุคตั้งแต่สมัยสงครามซางโจ้ว มีตำนานเทวดาลงมาร่วมรบเป็นจำนวนมาก เทวดาเหล่านั้นมาทางเทือกเขาตะวันตกก็คือ คุนลุ้น และมีเรื่องเล่าของชาวบ้านอีกว่า ในยามที่เล่าจื้อไม่ประสบความสำเร็จและผิดหวังในการปกครองของแต่ละแคว้น เขาเดินทางไปทางด้านตะวันตก นัยว่ากลับสู่สวรรค์ ซึ่งความจริงท่านเดินทางไปไหนไม่มีใครทราบ หลังจากหายไปนับ 10 ปี ท่านก็กลับมาแต่งคัมภีร์เต๋าเต็กเก็ง ปราชญ์สมัยหลังๆ ต่างก็พากันพูดว่า ในช่วงที่หายไป บางทีเล่าจื้ออาจไปพบกับฤๅษีหรือชาวอินเดีย หรือพระอรหันต์ในสมัยนั้น อย่างไรก็ตามไม่มีใครทราบแน่ชัด
คัมภีร์เต๋าเต็กเก็งแม้จะเน้นในเรื่องธรรมชาติ แต่การอ่านคัมภีร์เต๋าเต็กเก็งก็เป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจและตีความ ดังนั้น เล่าจื้อจึงได้ชื่อว่าแต่งเรื่องราวซึ่งแม้จะร่วมสมัยกับขงจื้อแต่เป็นเรื่องนอกโลก คำว่านอกโลกอาจจะมีความหมายว่า เขาพูดอิงหลักธรรมชาติที่สูงเกินไป ยากที่มนุษย์ในโลกทั่วไปจะทำความเข้าใจ ในคัมภีร์จะบรรยายหลักธรรมชาติในลักษณะของเซน สรรพสิ่ง คือความว่างเปล่า แหงนฟ้ามีฟ้าแต่ไม่มีฟ้า นี้เป็นตัวอย่างของศัพท์ที่อยู่ในคัมภีร์เต๋าเต็กเก็งบทที่ 1 ที่ทำให้คนมองว่าเล่าจื้อพูดในสิ่งที่อยู่นอกโลก คำว่า เต๋า หมายถึงวิถีแห่งธรรมชาติ เล่าจื๊อถือเป็นผู้เดียวที่มีความเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง จึงถือว่าเล่าจื้อคือเป็นปรมาจารย์ของลัทธิเต๋า (道教)
ในสมัยเดียวกันนั้น นอกจะมีลัทธิหยูของท่านขงจื๊อที่กล่าวมาแล้ว ก็จะมีลัทธิเต๋า ซึ่งต่างก็มีปรัชญาน่าสนใจทั้งสิ้น ลัทธิเต๋านั้นมีแนวคิดไปในทางศาสนา เห็นแก่ผู้อื่นก่อนตัวเอง มีเรื่องกล่าวว่า เล่าจื้อมักจะสอนเสมอว่า ปราชญ์ไม่เห็นแก่ตน แต่ควรเห็นแก่ผู้อื่น มีนักปราชญ์ท่านอื่นอีกที่มีความเห็นในทางตรงข้าม และบางท่านมีความเห็นที่ตรงข้ามกับขงจื้ออีกด้วย
ขงจื้อยึดถือความสำคัญของบุคคลต่อบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าผู้ครองนครกับราษฎร พ่อแม่กับลูก อาจารย์กับศิษย์เล่าจื้อเน้นหลักของธรรมชาติ สรรพสิ่งเป็นไปตามธรรมชาติ และสรรพสิ่งล้วนว่างเปล่า ในที่สุดแล้วก็คือความว่าง จะไปถือสาอะไรกันมากมาย ส่วนปราชญ์ท่านอื่นๆ นั้น กลับมีความเห็นตรงกันข้าม ยกตัวอย่างเช่น บางท่านเชื่อว่า บุคคลทั้งหลายเกิดมานั้นเลวก่อน แล้วค่อยมาขัดเกลาในภายหลัง เพราะสิ่งชั่วร้ายนั้นทำได้ง่าย คิดง่ายแล้วก็สบาย ในขณะที่ปราชญ์ท่านอื่นๆ ถือว่า บุคคลนั้นมีความบริสุทธิ์มาแต่กำเนิด แต่ถูกสภาพแวดล้อมนั้นฉาบย้อมห่อหุ้มจึงจำเป็นต้องถากออก แล้วกลับไปสู่ธรรมชาติ นี่เป็นตัวอย่างของความคิดเห็นที่แตกต่างกันในสมัยนั้น
สำหรับเราแล้ว เชื่อว่าพื้นฐานของมนุษย์ดีหรือว่าเลวมาก่อนกันแน่ อย่างไรทำง่ายกว่ากัน อย่างไรจำเป็นต้องขัดเกลา เพื่อให้กลับไปสู่ธรรมชาติอย่างแท้จริง
รับชมรายการย้อนหลังได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=KWOWMvZkqOU&list=UU0uiwdw4_SQY7ROPcrNYEmg