ประสบการณ์การดูทำเลของอาจารย์

 

เปรียบเทียบทำเล ๓ ยุค (สุโขทัย-อยุธยา-รัตนโกสินทร์)
22 ก.พ. 2555

 

โดย....อาจารย์แอน(ษณอนงค์ คำแสนหวี)

 

 พระบรมไตรโลกนาถ, พระพุทธชินราช, มหาชาติคำหลวง, ฮวงจุ้ยสร้างเมือง, ฮวงจุ้ยพิชัยสงครามพระบรมไตรโลกนาถ, พระพุทธชินราช, มหาชาติคำหลวง, ฮวงจุ้ยสร้างเมือง, ฮวงจุ้ยพิชัยสงคราม

  พระบรมไตรโลกนาถ, พระพุทธชินราช, มหาชาติคำหลวง, ฮวงจุ้ยสร้างเมือง, ฮวงจุ้ยพิชัยสงคราม

 

ทำเลสุโขทัยและอยุธยา เปรียบเทียบกับกรุงรัตนโกสินทร์ 

 

ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นผู้ที่รวบรวมอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาเข้าไว้ด้วยกันซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะเมืองสุโขทัยเป็น ธาตุไฟ ที่หมายถึง หลักการวิชาการ การสืบทอดประเพณีจริยธรรมอันงดงาม ประเพณีด้านการศาสนาที่สมบูรณ์ อาจจะด้วยทำเลสภาพแวดล้อมที่อ่อนโยน เป็นทางราบ

 

แต่ในขณะที่เมืองอยุธยาจะเจริญไปทางด้านการค้า การฑูต การติดต่อกับต่างประเทศ อยุธยานี้เป็น ธาตุพระบรมไตรโลกนาถ, พระพุทธชินราช, มหาชาติคำหลวง, ฮวงจุ้ยสร้างเมือง, ฮวงจุ้ยพิชัยสงครามน้ำ

 

 

โดยปรกติแล้ว ธาตุน้ำและธาตุไฟจะรวมกันยาก แต่มารวมสำเร็จในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และพระราโชบายถ้าจะเปรียบเทียบก็จะเป็นทาง ธาตุไม้ ซึ่งธาตุไม้เป็นตัวเชื่อมระหว่างธาตุน้ำกับธาตุไฟ

 พระบรมไตรโลกนาถ, พระพุทธชินราช, มหาชาติคำหลวง, ฮวงจุ้ยสร้างเมือง, ฮวงจุ้ยพิชัยสงคราม

ธาตุไม้ คือ การรวมทางด้านวรรณคดี พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง “ลิลิตยวนพ่าย” และการใช้หลักปกครองโดยราชประเพณี และการผสมผสานทางด้านวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ในพระราชประวัติ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงประกอบพระราชกรณียกิจมากมาย ตลอดระยะเวลาที่ครองราชย์ พระองค์ทรงอุทิศพระราชวังส่วนหนึ่งเพื่อสร้างวัด ซึ่งไม่เคยปรากฏว่ามีกษัตริย์องค์ใดเคยสร้างวัดในพระราชวังมาก่อน

 

 พระบรมไตรโลกนาถ, พระพุทธชินราช, มหาชาติคำหลวง, ฮวงจุ้ยสร้างเมือง, ฮวงจุ้ยพิชัยสงครามการกระทำเช่นนี้ ทำให้ราษฎรในสมัยอยุธยามีความชื่นชม ในความเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีของพระองค์ และในขณะเดียวกัน ราษฎรในสุโขทัยก็เห็นว่า พระองค์ทำตามแบบอย่างที่ดีของกษัตริย์สุโขทัยที่เคยทรงกระทำมาก่อน

 

ในช่วงแรกที่พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ พระองค์เสด็จประทับอยู่ที่อยุธยา และให้เจ้านายทางสุโขทัยปกครองดินแดนทางเหนือกันเอง การรุกเข้าครอบครองทางเหนือของอยุธยาก่อให้เกิดความเกลียดชังในหมู่ของเชื้อพระวงศ์สุโขทัย

 

ดังนั้น ในช่วงนี้เจ้าบางองค์ของสุโขทัย ผู้หวังจะสถาปนาอาณาจักรขึ้นเป็นอิสระจึงเอาใจออกห่างและขอความช่วยเหลือกำลังทหารจากเชียงใหม่ นับเป็นครั้งแรกที่ทางอยุธยา ต้องเป็นฝ่ายตั้งรับ

 

 พระบรมไตรโลกนาถ, พระพุทธชินราช, มหาชาติคำหลวง, ฮวงจุ้ยสร้างเมือง, ฮวงจุ้ยพิชัยสงครามในปีพุทธศักราช ๑๙๙๓ กองทัพของพระเจ้าเชียงใหม่และทหารสุโขทัย ผ่านเข้าแดนอยุธยารุกประชิดเมืองชัยนาท อันเป็นเมืองลูกหลวงทางเหนือ

 

และในช่วงปีพุทธศักราช ๒๐๐๓ เจ้าเมืองสุโขทัยกวาดต้อนผู้คนทางเหนือของสุโขทัย ไปตั้งถิ่นฐานในเมืองเชียงใหม่ ทำให้เกิดความตื่นตระหนกกันที่อยุธยา เพราะการสูญเสียกำลังคน อันมีผลอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคงของอาณาจักรและเมื่อเกิดสงครามกับเมืองเชียงใหม่ในปีพุทธศักราช ๒๐๐๖ สมเด็จพระไตรโลกนาถก็ทรงเสียพระราชโอรสในการศึกครั้งนั้น ซึ่งเป็นอิทธิพลของดาวธาตุน้ำ เพราะอยุธยายังได้รับอิทธิพลของดาวแห่งสงคราม คือดาวอังคาร ซึ่งเป็นดาวธาตุน้ำ ราศีพิจิก

 

 อาจารย์หม่า, ซินแสภาณุวัฒน์, หมอช้าง, หมอลักษณ์, อาจารย์มาศ, อาจารย์แอนสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงต้องเสด็จไปประทับที่เมืองพิษณุโลก แล้วทรงยกพิษณุโลกให้เป็นเมืองหลวง เพื่อเชื่อมสองอาณาจักรไว้ด้วยกัน ในขณะเดียวกัน ก็ลดฐานะของอยุธยาให้เหลือเพียงเมืองลูกหลวงทางทิศใต้ แล้วแต่งตั้งพระราชโอรสไปครอง ทางเหนือจึงเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรทั้งหมด ตลอดรัชสมัยของพระองค์ จนเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี พุทธศักราช ๒๐๓๑ จึงย้ายเมืองหลวงกลับมาที่ตั้งอยุธยา เป็นความยืดหยุ่นของพระองค์

 

การที่พระองค์ย้ายเมืองหลวงไปยังพิษณุโลก นับว่าเป็นประโยชน์ต่อพระองค์อย่างมาก

 

ประการแรก คือ เป็นที่ตั้งรัฐบาลเป็นการรวบรวมกำลังคนเข้าไว้ด้วยกันในที่เดียวกัน คือ ทั้งอยุธยาและสุโขทัย และอยู่ในฐานะที่จะรุก เพื่อต่อกรกับศัตรูทางตอนเหนือได้ ในปีพุทธศักราช ๒๐๑๗ พระองค์ทรงชนะศึกเชียงใหม่ และทั้งสองรัฐตกลงเป็นไมตรีต่อกัน

 

ประการที่สอง คือ การสถาปนาพิษณุโลกขึ้นเป็นเมืองหลวง ทำให้เกิดความพึงใจแก่พระราชวงศ์สุโขทัยเพราะเป็นการยกฐานะของเมืองหลวงเก่าขึ้นสู่สถานะที่รุ่งเรืองและมีอำนาจ การทำเช่นนี้ทำให้พระราชวงศ์บางส่วน หันมาให้การสนับสนุนสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และความพยายามของพระองค์ที่จะรวบรวมทั้งสองอาณาจักรเข้าไว้ด้วยกัน ภายใต้หลักประกันว่า อาณาจักรทางเหนือจะไม่ถูกทำให้ด้อยความสำคัญลงไป

 

ในสิ่งที่พระองค์ได้ปฏิบัติลงไป ไม่ว่าจะเป็นการอุทิศเวลาเพื่อกิจกรรมทางด้านศาสนา ย้ายเมืองหลวง สร้างบูรณะวัดต่างๆ เป็นกุศลกรรม และพระองค์ทรงออกผนวชเป็นพระภิกษุ พร้อมกับข้าราชบริพาร คือหลักประสานบุคคล เป็นนโยบาย

 

 พระบรมไตรโลกนาถ, พระพุทธชินราช, มหาชาติคำหลวง, ฮวงจุ้ยสร้างเมือง, ฮวงจุ้ยพิชัยสงครามพระบรมไตรโลกนาถ, พระพุทธชินราช, มหาชาติคำหลวง, ฮวงจุ้ยสร้างเมือง, ฮวงจุ้ยพิชัยสงคราม

 

พระบรมไตรโลกนาถ, พระพุทธชินราช, มหาชาติคำหลวง, ฮวงจุ้ยสร้างเมือง, ฮวงจุ้ยพิชัยสงครามพระบรมไตรโลกนาถ, พระพุทธชินราช, มหาชาติคำหลวง, ฮวงจุ้ยสร้างเมือง, ฮวงจุ้ยพิชัยสงคราม

 

ทางด้านทำเลการย้ายเมืองหลวงไปทางพิษณุโลก เป็นการหลีกธาตุน้ำโดยตรง เส้นทางเดินของพิษณุโลกจะล้อมรอบไปด้วยป่าและเขา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของธาตุไม้

 

 พระบรมไตรโลกนาถ, พระพุทธชินราช, มหาชาติคำหลวง, ฮวงจุ้ยสร้างเมือง, ฮวงจุ้ยพิชัยสงครามพระบรมไตรโลกนาถ, พระพุทธชินราช, มหาชาติคำหลวง, ฮวงจุ้ยสร้างเมือง, ฮวงจุ้ยพิชัยสงคราม

 

นอกจากนี้ พิษณุโลกยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของดาวพฤหัสเพราะว่าชาวเมืองนั้น มีความรักและเคารพในพระพุทธชินราชเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่า จะตกอยู่ในสภาพเป็นเมืองอกแตก ไม่เหมาะที่จะเป็นเมืองหลวงโดยถาวรในตอนนั้น เพราะเศรษฐกิจยังไม่สมบูรณ์เท่าเมืองอยุธยา แต่ศูนย์รวมทางจิตใจและวัฒนธรรม ค่อนข้างจะสมบูรณ์

 

ดาว ๕ หรือดาวพฤหัส เป็นดาวทางการศาสนา และเป็นดาวแห่งความอุดมสมบูรณ์อีกด้วยจึงเป็นการรวมจิตใจและสร้างความอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง คือ ไปอยู่ในทำเลที่รวมสภาพจิตใจของคนเข้าไว้ด้วยกันและสภาพภูมิประเทศก็ไม่แตกต่างจากสุโขทัยเท่าใด แล้วยังมีส่วนหนึ่งของ ธาตุน้ำ คือ แม่น้ำที่ผ่าใจกลางเมืองคล้ายๆอยุธยา เท่ากับเป็นเมืองที่อยู่ระหว่างทำเลของสองเมือง ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

 

 พระบรมไตรโลกนาถ, พระพุทธชินราช, มหาชาติคำหลวง, ฮวงจุ้ยสร้างเมือง, ฮวงจุ้ยพิชัยสงคราม

 

นอกจากทำเลและพระจริยานุวัตรของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเสด็จออกผนวช เป็นความหมายเชิงสัญลักษณ์ในการเปรียบเทียบกับพระพุทธเจ้า เพราะในจารึกของปี พุทธศักราช ๒๒๒๓ ปรากฏว่าทรงให้ข้าราชบริพาร ๕ คน ออกบวชก่อนพระองค์ อย่างกะทันหัน แทนปัญจวัคคีย์ และหลังจากที่จัดพระราชพิธีใหญ่โต มีผู้ออกบวชกันมาก ทำให้บรรลุจุดประสงค์ถึง ๒ ประการคือ

 

เกลี้ยกล่อมน้ำใจของราษฎรทางฝ่ายเหนือและเป็นการเผยแพร่พระเกียรติคุณของพระองค์ไปสู่อาณาประเทศเพื่อนบ้านอีกทางหนึ่ง

 

 พระบรมไตรโลกนาถ, พระพุทธชินราช, มหาชาติคำหลวง, ฮวงจุ้ยสร้างเมือง, ฮวงจุ้ยพิชัยสงครามการกระทำของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ อาจทำให้เกิดความไม่พอใจแก่อาณาจักรอยุธยา แต่ดูเหมือนพระองค์จะทรงพระปรีชา ที่ระวังมิให้กระทบกระเทือน น้ำใจของราษฎรทางอยุธยา และพยายามหลีกเลื่ยงที่แสดงให้เห็นว่า พระองค์มิได้ฝักใฝ่กับทางเหนือ และทรงผนวชในวัดที่ไม่มีความสำคัญ ที่พระองค์บูรณะขึ้นใหม่ในปีพุทธศักราช ๒๐๐๗ แทนการผนวชในวัดพระพุทธชินราช อันเป็นศูนย์รวมทางจิตใจ ของอาณาจักรฝ่ายเหนือ

 

นอกจากนั้น ยังเป็นการหลีกเลี่ยงความตึงเครียดอันอาจเกิดจากบรรดาเจ้านายทางฝ่ายเหนือ หากพระองค์ ทำเป็นเจ้าของสถานที่ อันเป็นศูนย์รวมทางจิตใจเช่นนั้น เป็นความสำเร็จของรัฐบาลในสมัยนั้น

 

ในการบวชครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย พระเหล่านี้ยังอยู่ในบรรชิตต่อไปในสุโขทัย และเข้าแผ่อิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้รับการสนับสนุนจากพระสงฆ์ทางเหนือ ซึ่งเป็นฝ่ายของพระองค์เอง เท่ากับทำหน้าที่เชื่อมกับราษฎรในสุโขทัยได้เป็นอย่างดี

 

ในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจทางด้านศาสนาเป็นครั้งสุดท้าย ในปีพุทธศักราช ๒๐๒๕ ได้ทรงบูรณะวัดพระพุทธชินราช และโปรดให้แต่ง มหาชาติคำหลวง ทั้งยังโปรดให้แต่งมหาชาติคำหลวง ทั้งยังโปรดให้มีงานสมโภชนานถึง ๑๕ วัน

 

พระองค์ทรงบำเพ็ญการกุศล ในการถวายจตุปัจจัยแด่พระสงฆ์และพราหมณ์ พระราชทานพระราชทรัพย์แก่ข้าราชบริพาร และราษฎรเป็นอันมาก และถือเป็นการฉลองพระนคร เนื่องในโอกาสครบรอบ ๒๕ ปี ด้วย

 

ถือว่าการบูรณะวัดพระพุทธชินราช เป็นการทิ้งทวนครั้งสุดท้าย ในการที่จะทำให้เกิดความชื่นชมยินดีกันทั่วหน้าในอาณาจักรเหนือ และพากันสรรเสริญว่า พระองค์เป็นนักปกครองที่ทรงคุณธรรม และการแต่งมหาชาติคำหลวง ก็เป็นการดำเนินตามรอยพระบาท ของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ เชื่อกันว่าทรงโปรดให้แต่งไตรภูมิพระร่วง ตามครรลองของขนบธรรมเนียมโบราณ แห่งกษัตริย์สุโขทัย เป็นการเชื่อม ธาตุน้ำกับธาตุไฟ เข้าด้วยกัน

 

 พระบรมไตรโลกนาถ, พระพุทธชินราช, มหาชาติคำหลวง, ฮวงจุ้ยสร้างเมือง, ฮวงจุ้ยพิชัยสงครามการที่รวบรวมอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาได้อย่างกลมเกลียวนั้น เป็นผลจากนโยบายทางศาสนา ไม่ใช่นโยบายทางการฑูตหรือการทหาร โดยใช้เวลาทั้งหมดเกือบศตวรรษ อาจกล่าวได้ว่าสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นต้นมา บริเวณลุ่มแม่น้ำถูกรวบรวมอยู่ภายใต้การปกครอง อย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่แตกแยกอีกต่อไป ถ้าเปรียบเทียบ ธาตุน้ำ คือดาวอังคาร ดาวเนปจูนและดาวจันทร์ ธาตุที่รวมกันก็ต้องเป็นดาวพฤหัส คือ ทางด้านการศาสนา

 

เพราะการผสมผสานทางด้านศาสนา ก่อให้เกิดการผสมผสานทางด้านการเมือง ทำให้ราษฎรทางเหนือรู้สึกว่า ตนเป็นส่วนเดียวกับอาณาจักรอยุธยา และจากนั้นไปอาณาจักรสุโขทัย ก็ไม่คิดจะตั้งตัวเป็นอิสระอีก แม้ว่าจะมีการแข่งขันทางด้านการเมืองอยู่บ้าง คือ สองราชวงศ์ร่วมชิงความเป็นใหญ่ในอยุธยา แต่ก็เป็นเวทีการเมืองเดียวกัน

 

ถ้ามาเทียบในสมัยนี้ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีแม่น้ำอกแตก รัฐสภาตั้งอยู่ทางสามแพร่ง เปรียบเทียบกับแม่น้ำสามสาย เรามีการติดต่อทางด้านเศรษฐกิจ อาณาจักรสมัยโบราณอยุธยา ยังมีการปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักอยู่ ไทยเราเดี๋ยวนี้ทำการเกษตรก็ถือว่าเป็นอาชีพหลัก การค้ากับต่างประเทศจะทำตามนโยบายสมัยอยุธยาตลอดมา จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ถือว่าสอดคล้องกัน

 

ควรที่จะศึกษาถึงประวัติศาสตร์ในสมัยก่อนว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์คับขันของบ้านเมือง ได้มีการแก้ไขอย่างไร ด้วยพระปรีชาสามารถ มีการแก้ไขให้บ้านเมืองเป็นปึกแผ่น ซึ่งในขณะนี้ ความแตกแยกของประเทศเป็นส่วนน้อย เพราะอยู่ในประเทศเดียวกัน ไม่ยากที่จะสามารถรวบรวมน้ำใจของคนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

 

ลองมาวิเคราะห์กันดูว่า อาเพศของเราตอนนี้เกิดความแตกแยกกันหรือไม่ หรือดินฟ้า อากาศ เป็นโทษ เป็นภัยหรือไม่ คนดีกับคนไม่ดี ศิษย์กับครู ความแตกแยกจะทำอย่างไรให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีกันดังเดิม เป็นหลักพิชัยสงครามของทุกยุคทุกสมัย คือ ความสามัคคีของคนในประเทศที่สร้างบ้านเมืองให้เจริญ ทำเลของเราจะให้อยู่แล้วที่จะไม่แตกแยก แต่การสูญทำเลทำได้ ยกตัวอย่าง  สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ทำได้และทรงครองราชย์ได้นานถึง ๔๐ ปี ลองพินิจพิจารณาดูว่าประวัติศาสตร์ให้อะไรกับเราบ้าง

 

อดีตของไทยเป็นอดีตที่ราบรื่นมีการสานผลประโยชน์ ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ทุกคนปฏิบัติตามหน้าที่และบทบาทของตน จึงเป็นสังคมที่ปราศจากความตึงเครียด ทุกคนเป็นอิสระ เป็นสังคมที่อยู่นิ่งไม่เปลี่ยนแปลง เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นเหมือนประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยอยู่เป็นประจำ คือสังคมไทยโบราณ ซึ่งเป็นแนวทางการค้นประวัติศาสตร์เพียงเรื่องใหญ่ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองจะไม่มี

 

ก่อนที่อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาจะเป็นใหญ่ขึ้นมา ช่วงต่อระหว่างสุโขทัย อยุธยาความแตกแยกของบ้านเมือง ก็เคยสงบมาได้ด้วยพระพุทธศาสนา

 

 พระบรมไตรโลกนาถ, พระพุทธชินราช, มหาชาติคำหลวง, ฮวงจุ้ยสร้างเมือง, ฮวงจุ้ยพิชัยสงครามดังนั้น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงปลูกฝังให้คนนั้นผูกจิตไว้กับวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของชาติไทย แล้วยังผูกใจไว้กับพระพุทธศาสนาอีกด้วย ก่อนที่พระองค์จะปฏิรูป มีการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างขึ้นในรัชสมัยนั้น พระองค์ได้ปลูกฝังเรื่องของจิตและใจ วัฒนธรรม ประเพณี และศาสนาก่อน เพื่อรวมจิตใจของคนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เพราะถ้าหากพระองค์ทรงใช้นโยบายการปกครองอย่างเดียว โดยที่ไม่ทรงนำเอาศาสนาขึ้นมานำทางจิตใจก่อน ความแตกแยกก็ยังคงมีอยู่ ก็ทำให้สิ่งที่พระองค์ทำก็คงจะไม่เกิดผลสำเร็จ

 

การเริ่มต้นการปกครองต่างๆ ควรจะหันมาดูความสามัคคีของคนในประเทศ เหมือนอย่างที่ในประวัติศาสตร์และพงศาวดารได้บันทึกเอาไว้ อย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ