กรณีศึกษาฮวงจุ้ย

 

เขื่อนขุนด่านปราการชล
4 ต.ค. 2554

 

ขุนด่านปราการชล, สรีดภงส์, เนินหงส์, เนินมังกร, รก ครรภ์ คลอด, เหวินเฉิง

 

ผู้เขียนขอถือโอกาสที่ได้ติดตามอาจารย์แอน(ษณอนงค์ คำแสนหวี) ไปทริป ฮวงจุ้ยนครนายก เมื่อวันที่ 24 กรกฏาคม นำเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับเขื่อนขุนด่านปราการชลมาเล่าสู่กันฟัง สำหรับท่านที่ไม่ได้เดินทางไปกับอาจารยแอนในครั้งนี้

 

อาจารย์มักพูดเสมอว่า การเดินทางแต่ละครั้งไม่ใช่สักแต่ว่า เดินทางไปถึง ถ่ายรูป แวะซื้อของ แล้วก็กลับ หากแต่เราควรจะรู้จักประวัติของสถานที่แห่งนั้น พร้อมกับสังเกตธรรมชาติที่แตกต่างกันไปของแต่ละพื้นที่ไปด้วย จะทำให้เราเข้าถึง ธรรมชาติ  ทั้งธรรมชาติของคนที่อยู่แถบนั้น ธรรมชาติของผู้ไปเยือน ว่าเป็นคนประเภทใด และตัวธรรมชาติจริง ๆ ก็จะทำให้การท่องเที่ยวไปยังที่ต่างๆ สนุกสนานมากขึ้น รวมไปถึงผลพลอยได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ จะทำให้เราเป็นคนละเอียดขึ้นด้วย

 

การเดินทางไปยังจังหวัดนครนายกในครั้งนี้ หลังจากไปสัมผัสธรรมชาติของน้ำตกนางรองที่คลาคล่ำไปด้วยผู้คนในวันหยุดแล้ว  ฟังอาจารย์แอนบรยายเรื่องลักษณะของน้ำตกไปเรียบร้อยแล้ว  อาจารย์แอนก็นำคณะไปยังเขื่อนขุนด่านปราการชล  ทุกท่านอาจสงสัยว่า ไปทำไมน่ะเขื่อน จะมีอะไร เชื่อผู้เขียนเถิดค่ะ มีหรือ ที่ไปไหนกับอาจารย์แอนแล้วจะไม่ได้อะไรกลับมา

 

ขุนด่านปราการชล, สรีดภงส์, เนินหงส์, เนินมังกร, รก ครรภ์ คลอด, เหวินเฉิง

ก่อนอื่นขอเล่าให้ฟังนิดนึงนะคะว่า  เขื่อนแห่งนี้เป็นเขื่อนคอนกรีตบดอัดที่ยาวที่สุดในโลก คือ 2,594 เมตร มีความสูง 93 เมตร ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาก คือ ใช้เถ้าลอยลิกไนท์ ที่เป็นวัสดุเหลือใช้จากเหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มาเป็นส่วนผสมทดแทนปูนซิเมนต์ส่วนหนึ่ง เป็นการลดต้นทุนในการก่อสร้าง  แล้วยังมีข้อดีอีกก็คือ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเพิ่มแรงยึดเหนี่ยว ลดการแตกร้าวจากการหดตัวที่ไม่เท่ากัน แล้วก็ทำให้สร้างเสร็จอย่างรวดเร็วภายในเวลาแค่ 5 ปีเท่านั้นเอง แทนที่จะเป็นสิบๆปี เพราะเถ้าลอยลิกไนต์ที่ว่านี้มีคุณสมบัติคล้ายดิน ก็เลยไม่ต้องใช้วิธีผสมผสานเหมือนปูนซิเมนต์

 

การสร้างเขื่อนใช่ว่าจะสร้างได้ทุกที่ ต้องมีทำเลที่เหมาะสมด้วย ปรากฏว่า ในพื้นที่ภาคกลางส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบ ไม่เหมาะกับการสร้างเขื่อนหรอกค่ะ แต่เขื่อนแห่งนี้อยู่ในบริเวณชายขอบของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีต้นน้ำและภูเขาที่สามารถสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำได้

 

เขาบอกกันมาว่า พื้นที่นครนายกมักประสบกับปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากกับแล้งซ้ำซาก เมื่อมีเขื่อนขุนด่านปราการชลรองรับน้ำจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ก็ทำให้ปัญหาเหล่านี้บรรเทาไปเลย  อาจจะเบื่อระอากับปัญหาที่ว่ามานี่ล่ะ ประชาชนในแถบนี้แสดงการสนับสนุนการสร้างเขื่อนแห่งนี้ด้วยการสมทบทุนช่วยค่าก่อสร้างด้วยนะคะ

 

ความสำคัญของเขื่อนขุนด่านฯแห่งนี้  ว่ากันว่า เป็น 1 ใน 2 เขื่อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จัดเป็นสองขุนพลหลักที่ช่วยลดทอนปัญหาในเรื่องน้ำท่วมและน้ำขาดแคลนให้กับราษฏรในลุ่มน้ำนครนายกเลยทีเดียวล่ะคะ

 

ขุนด่านปราการชล, สรีดภงส์, เนินหงส์, เนินมังกร, รก ครรภ์ คลอด, เหวินเฉิง

 

เอาล่ะ พอรู้ความสำคัญอย่างนี้แล้ว คณะของอาจารย์แอน ก็รู้สึกมีแรงบันดาลใจอยากเห็นเขื่อนขุนด่านฯขึ้นมาทันที

 

ที่นี่มีรถรางไว้บริการนักท่องเที่ยวที่จะข้ามจากสันเขื่อนไปยังทิวเขาที่เห็นอยู่ด้านหน้าด้วย แต่ต้องรอนิดนึงนะคะ เพราะมีอยู่แค่ 2 คันเท่านั้น สอบถามได้ความว่า มีบริการเฉพาะวันหยุดเท่านั้น วันธรรมดาหากอยากเดินตรงสันเขื่อนคงต้องเดินกันไปเอง (ตายแน่! ทั้งร้อนทั้งไกล นักท่องเที่ยวอย่างเราคงยกธงขาวถ้าไม่มีรถราง)

 

ขุนด่านปราการชล, สรีดภงส์, เนินหงส์, เนินมังกร, รก ครรภ์ คลอด, เหวินเฉิง

หลังจากนั่งรถราง ฟังบรรยายจากวิทยากรประจำเขื่อนเสร็จแล้ว อาจารย์แอนก็ชักชวนคณะไปยืนตรงจุด ๆ หนึ่ง แล้วก็ชี้ชวนให้พวกเราดูลักษณะของทิวเขา ระลอกน้ำ  แล้วก็อธิบายว่า

 

ที่นี่มีลักษณะคล้ายกับอ่างเก็บน้ำสมัยโบราณที่เรียกว่า สรีดภงส์ ในจังหวัดสุโขทัย  สรีดภงส์นั้นเป็นแนวกั้นน้ำเอาไว้ใช้ในเมืองสุโขทัยโบราณ ในยามหน้าแล้ง เป็นระบบชลประทานที่มีเป็นครั้งแรกเลยก็ว่าได้

สาเหตุที่คล้ายสรีดภงส์ เพราะพื้นที่แถบนี้ก็เป็นพื้นที่แห้งแล้งเหมือนกันเมื่อดูจากประวัติที่เป็นป่ารกชัฏแห้งแล้ง ทำมาค้าไม่ขึ้นเสียจนประชาชนต้องอพยพหนี ที่จะสร้างความอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาได้ก็ด้วยการสร้างเขื่อน  เขื่อนแห่งนี้เป็นลักษณะของการปิดเขาเพื่อรับน้ำเช่นเดียวกับที่สรีดภงส์ โดยที่นี่จะปิดเขาเพื่อรับน้ำที่มาจากแนวเขาใหญ่

 

ขุนด่านปราการชล, สรีดภงส์, เนินหงส์, เนินมังกร, รก ครรภ์ คลอด, เหวินเฉิง

แต่เนื่องจากเขาใหญ่เป็นเขาที่ใหญ่จริง ๆ   เขื่อนแห่งนี้จึงอยู่ในที่สูงมากทีเดียว เป็นการรับน้ำตก   ผู้ที่เคยไปประเทศจีนมาแล้ว ลองจินตนาการถึง ต้นกำเนิดของแม่น้ำ ฮวงโห ในที่ราบสูงชิงไห่ ที่ไหลสู่มองโกล แล้วลงสู่ซานซี ลองนึกภาพนั้นแล้วมาดูที่นี่ก็เสมือนเป็นการย่อส่วนมาที่นี่ คือ น้ำจากน้ำตกเหวนรก ไหลมายังตัวปิดแนวเขาที่เป็นเขื่อนแห่งนี้

 

ด้วยลักษณะของขุนเขาที่เป็นแนวโอบ เมื่อเราสร้างเขื่อนปิด น้ำก็จะไหลลงมายังสถานที่แห่งนี้ทั้งหมด แล้วก็ค่อย ๆ ปล่อยน้ำออกไปสร้างความอุดมสมบูรณ์ยังบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงอย่างที่เราเห็นภาพอยู่นี้

 

 ขุนด่านปราการชล, สรีดภงส์, เนินหงส์, เนินมังกร, รก ครรภ์ คลอด, เหวินเฉิง

 

เพียงแต่ว่า มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในทางฮวงจุ้ย คือ เมื่อมาเห็นสถานที่แห่งนี้จะเห็นได้ว่า เป็นสถานที่ซึ่งผู้หญิงเป็นใหญ่

 

ขุนด่านปราการชล, สรีดภงส์, เนินหงส์, เนินมังกร, รก ครรภ์ คลอด, เหวินเฉิง

 

เป็นสถานที่ส่งเสริมผู้หญิง  นั่นเป็นเพราะว่า หากเราไปยืนตรงด้านหน้าเขื่อน จะเห็นลักษณะภูเขาที่เทลาดลงไป ซึ่งในทางฮวงจุ้ยเรียกว่า เนินหงส์ ที่สมบูรณ์ เมื่อประกอบกับการที่ต้นไม้ที่เจริญงอกงามอยู่แถบนั้นก็เป็นไม้หยิน คือ ต้นกล้วย ยิ่งหมายถึง ทำเลส่งเสริมผู้หญิงอย่างที่อาจารย์แอนบอก

 

สรุปง่าย ๆ คือ พื้นที่ซึ่งมีธาตุน้ำ ธาตุไม้ และมีเนินหงส์ที่สมบูรณ์ จัดเป็นทำเลที่ผู้หญิงเป็นใหญ่

 

นอกจากจะพูดถึงเนินหงส์แล้ว อาจารย์แอนยังบอกให้คณะที่เดินทางไปดูด้านข้าง แล้วอธิบายว่าส่วนขุนเขาที่เป็นเนินสูงขึ้นมานั้นเรียกว่า เนินมังกร  ส่วนใหญ่แล้วหากมีเนินหงส์แล้ว เนินมังกรก็จะอยู่ไม่ไกลกัน เพียงแต่ว่าอยุ่ในมุมใดที่เรายืนอยู่เท่านั้น

 

แต่จุดที่อาจารย์นำคณะไปยืนบรรยายอยู่นั้น จะอยู่ในมุมมองที่เนินหงส์และเนินมังกรอยู่ติดกัน หากเราไปทางสันเขื่อนจะเป็นอีกมุมมอง เหมือนอย่างที่อาจารย์แอนมักพูดว่า 1 มุมมอง 1 อาณาจักร ซึ่งนอกจากจะเป็นตำแหน่งที่มองแล้ว การอยู่ใกล้ไกลก็มีผลต่อการมองด้วยค่ะ  หากว่าเนินหงส์และเนินมังกรอยู่ที่ใด การก่อกำเนิดจะอยู่ที่นั่น  ณ สถานที่แห่งนี้ก็เท่ากับว่าเป็นการก่อกำเนิดน้ำ

 

นอกจากนี้ หากสังเกตไปยังแนวขุนเขาที่อยู่ตรงหน้าของพวกเรา จะมองเห็นแนวเขา 3 ขยัก  ขยักที่หนึ่ง ถือว่า เป็น รก ขยักที่ 2 เป็น ครรภ์ และขยักที่ 3 เป็นคลอด  ถ้าจะว่าไปแล้ว น้ำที่ถูกเก็บกักอยู่ในเขื่อน ก็คือตำแหน่ง คลอด นั่นเอง ดังนั้น สถานที่แห่งนี้จึงได้ความสมดุลกันพอดี ในเมื่อเป็นแหล่งกำเนิด จึงทำให้มีปลามากมาย

 

ขุนด่านปราการชล, สรีดภงส์, เนินหงส์, เนินมังกร, รก ครรภ์ คลอด, เหวินเฉิง

 

แต่อย่างไรก็ตาม แม้เลยเขื่อนออกไปจะเสมือนมีเมือง 1 เมือง แต่ก็ยังไม่อาจเป็นเมืองที่ใหญ่ไปกว่าสุโขทัยได้  ด้วยเหตุที่ว่าเดิมเป็นพื้นที่เล็ก และหากเป็นในสมัยก่อน  จะถือว่าเป็นลักษณะภูมิประเทศเป็นแบบเมืองปิดนั่นเอง ต้องตั้งใจมาที่นี่ พอมาแล้วก็ชนกับเขาอีก นี่คือ ลักษณะของเมืองปิด  

 

อาจารย์หม่า, ซินแสภาณุวัฒน์, หมอช้าง, หมอลักษณ์, อาจารย์มาศ, อาจารย์แอน

การทำตำแหน่งน้ำตรงนี้ทำให้เมืองนี้กลับ เป็น ขึ้นมาในทางฮวงจุ้ย แต่ก็ยังคงไม่สามารถขยายอาณาเขตออกเป็นเมืองใหญ่ได้อยู่ดีเพราะลักษณะของเขื่อนไม่อาจเอื้ออำนวยขนาดนั้น

 

อำนาจของ 1 เขื่อน คือ สร้างเมืองเล็ก ๆ ได้หนึ่งเมือง แม้ว่าเขื่อนแห่งนี้จะสร้างประโยชน์ต่อพื้นที่ชลประทานภาคกลางหลายจังหวัด รวมถึงกรุงเทพฯด้วยก็ตาม

 

ในทางฮวงจุ้ยแล้ว ลักษณะที่เป็นแนวเขาและหุบเขาเช่นนี้ เห็นอยู่ 2 แห่งเท่านั้น คือ สรีดภงส์ในสมัยโบราณและเขื่อนขุนด่านปราการชลแห่งนี้  น้ำในสรีดภงส์หล่อเลี้ยงเมืองสุโขทัยฉันใด เขื่อนขุนด่านปราการชลก็หล่อเลี้ยงเมืองในแถบนี้ฉันนั้น

 

แล้วอาจารย์แอนยังบอกกับพวกเราอีกด้วยว่า ฮวงจุ้ยที่น่าสนใจสำหรับเขื่อนแห่งนี้ก็คือ หากจำลองไปไว้ที่บ้านของเรา เช่น ทำเป็นน้ำตกไหลลงมา  แล้วก็ทำเป็นแนวเหมือนแนวเขื่อนกั้นเอาไว้ ระบายน้ำไหลไปมุมโน้นมุมนี้ แล้วก็ทำสวน ก็เท่ากับว่าเราจำลองเมืองเล็กๆ แบบนี้ไปไว้ในบ้านของเรา การจัดทำเลแบบนี้จะเหมาะสำหรับคนที่ทำงานบริษัทใหญ่ ๆ เจ้าของกิจการที่มีหลายสาขา

 

อาจารย์เคยให้ญาติผู้ใหญ่ ทำสวนในลักษณะคล้าย ๆ อย่างนี้ในเนื้อที่ 3  คูณ 3 เมตรทางด้านทิศเหนือของบ้าน โดยทำเป็นภูเขาทรายแล้วปล่อยให้น้ำไหลลงมา ทำแนวโค้งเป็นเขื่อนกั้น มีทางระบายน้ำ มีสวน แล้วนำน้ำนั้นมารดน้ำต้นไม้ เป็นเสมือนเมืองเล็กๆ ก็จะแก้ฮวงจุ้ยในตำแหน่งนั้นได้ เหมือนเกิด 1 ปากัว ทำให้บ้าน เป็น ขึ้นมา ตำแหน่งนั้นก็จะโดดเด่นขึ้นมาเพราะจะเกิดจุดหมุนเวียนขึ้นในบ้าน ก็จะดึงผู้คนให้ไหลมา เกิดมนุษยสัมพันธ์ดี การเงินดี คือ เจริญทั้งหมดเลย

 

เขื่อนขุนด่านปราการชล เป็นพื้นที่ซึ่งว่าไปแล้วกะทัดรัด เมื่อเปรียบกับพื้นที่ กับทิวเขา กับการรองรับน้ำจากเขาใหญ่ หากว่าแถบเขาใหญ่มีน้ำมาก สถานที่นี้ก็รองรับน้ำได้มากด้วยเช่นกัน ก็เหมือนกับว่า หากในภาพรวม บ้านเมืองเจริญ เราที่อยู่ในกลุ่มเล็กกว่า ก็ย่อมเจริญไปด้วยเช่นกัน เสมือนกระแสที่ใหญ่ลงสู่กระแสที่เล็ก

 

 ขุนด่านปราการชล, สรีดภงส์, เนินหงส์, เนินมังกร, รก ครรภ์ คลอด, เหวินเฉิง

 

ขุนด่านปราการชล, สรีดภงส์, เนินหงส์, เนินมังกร, รก ครรภ์ คลอด, เหวินเฉิง

อาจารย์แอนย้ำกับพวกเราว่า ในการเดินทาง ต้องหัดสังเกตว่า สถานที่แต่ละแห่งมีธรรมชาติแบบใดที่เราสามารถนำไปจำลองไว้ในบ้านของเราได้

 

ในสมัยถังไท่จง องค์หญิงเหวินเฉิง เป็นผู้ริเริ่มให้สร้างภูเขาจำลอง สร้างเขามอ สร้างเก๋งจีน เป็นการจำลองธรรมชาติที่ดีที่สุดมาไว้ในวังนั่นเอง รัชสมัยของถังไท่จงนั้น ไม่ว่าจะมีปัญหาอะไรก็แก้ได้หมด สามารถขยายอาณาเขตได้อย่างกว้างขวาง แล้วองค์หญิงเหวินเฉิงก็นำสิ่งเหล่านี้ไปเผยแพร่ยังทิเบต มีทะเลสาบที่ขุดเพื่อรับน้ำที่ละลายจากหิมะมาใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก ก็เป็นลักษณะเดียวกัน

 

อาจารย์อยากให้คณะที่เดินทางไปฮวงจุ้ยนครนายกครั้งนี้ ไปลองคิดดูว่า เราสามารถนำไปประยุกต์ทำเป็นตำแหน่งน้ำในบ้านของเรา  บางบ้านอาจทำตำแหน่งน้ำเป็นน้ำพุ น้ำตก น้ำล้น บ่อปลา สระว่ายน้ำ แต่บางบ้านก็ทำแบบนี้ได้ ขึ้นอยู่กับว่า พื้นที่ของเราอำนวยขนาดไหน เรียกว่า ต้องดูว่า บ้านเราเข้ากับธรรมชาติแบบไหน นั่นเองค่ะ

 

ในการเดินทางกับอาจารย์ษณอนงค์ หรือ อาจารย์แอน ในครั้งต่อไปหากมีเกร็ดอะไรน่าสนใจ ก็จะนำมาเล่าสู่กันฟังอีกค่ะ

 

  




 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
  • ดวงประเทียบ องค์หญิงเหวินเฉิง