ฮวงจุ้ยพื้นฐาน

 

ฮวงจุ้ยอี้จิง
5 ก.ย. 2553

 

 

ฮวงจุ้ยอี้จิง, อี้จิง, ภูมิพยากรณ์, ฉักลักษณ์, ปากัว

 

หลายคนมีความสงสัยว่า “ฮวงจุ้ยอี้จิง” เป็นหลักวิชาอะไรกันแน่ ผู้สอนนั้นเริ่มมีอาการน่าเป็นห่วงหรือเปล่า  จึงเอาหลักวิชามาประสมปนเปกัน จนน่าคิดว่าคนสอนไฟธาตุแตกไปแล้วหรืออย่างไร และนี่ก็คือเหตุผลของ “ผู้ต่ำต้อยด้อยปัญญา” ที่จะเล่าแจ้งแถลงไขลงในคอลัมน์นี้

 


“อี้จิง” ในความหมายที่เข้าใจ จะหมายถึงศาสตร์ว่าด้วยการพยากรณ์หรือการเสี่ยงทาย ดังที่มีหนังสือแปลให้เสี่ยงทายด้วยการใช้เหรียญเงินของจีนบ้าง ใช้ไม้เซียมซีบ้าง แล้วแต่จะใช้ โดยนำหลักการเสี่ยงทายมาจากทิศทั้งแปดผสานกันได้ ๖๔ คำทำนาย และพากันคิดว่าไม่เกี่ยวกับหลักวิชาฮวงจุ้ยตรงไหนเลย

 


ท่านผู้รู้ภาษาจีน สามารถมองได้ทะลุถึงที่มาของคำพยากรณ์ ว่ามาจากทิศทั้งแปด ธาตุทั้งห้า อันเป็นพื้นฐานของหลักวิชาฮวงจุ้ยทุกสาย ไม่ว่าจะเป็นสาย เทียนซือ หรือ สายธิเบตนิกายหมวกดำ ซึ่งสายธิเบตฯ ก็ยังแยกเป็นสามภาค คือ ภาคพิธีกรรม ภาคพยากรณ์ และภาคภูมิพยากรณ์ แล้วแต่ศิษย์ท่านใดจะเป็นเอกในภาคใด นอกจากนี้ยังแยกออกไปสู่ทางการแพทย์อีกด้วย ซึ่งต่างล้วนแล้วมาจากพื้นฐานของแปดทิศ ห้าธาตุทั้งสิ้น

 

ฮวงจุ้ยอี้จิง, อี้จิง, ภูมิพยากรณ์, ฉักลักษณ์

 

ยกตัวอย่างในหนังสือ “เหรียญเสี่ยงทายมหัศจรรย์” ของเหล่าซือ ผู้เรียบเรียง หน้า ๖๕  “ฉักลักษณ์อันดับที่หนึ่ง” “มังกรที่ถูกกักขัง ถึงน้ำอีกครั้ง” คือ เฉียน ตรีลักษณ์ คือ ล่างและบน “ฟ้า” ในความหมายนี้มาจากการเขียน  -   ซ้อนกันหกชั้น คือ ฟ้าซ้อนฟ้า  ซึ่งสัญลักษณ์ของสามขีด คือ “ฟ้า” ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตำแหน่ง “พ่อ” คือ ธาตุทอง หมายถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทิศสวรรค์  และยิ่งซ้อนกันถึงสองชั้นคือหกขีด ความหมายยิ่งลึกซึ้งขึ้นไปอีก คำพยากรณ์ ที่มีความหมาย ตามหนังสือนั้น คือ “ชนะทุกคดีความ อาชีพเจริญรุ่งโรจน์ คนเจ็บป่วยจักหายขาด ไม่มีสิ่งใดยุ่งยาก”