สาระจากเมืองมังกร

 

สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 68 พระจีนอ้วน เซียงเต็งจื้อ โดย อาจารย์แอน
9 ม.ค. 2557

 

สรุปบทความจากรายการ

"สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 68 พระจีนอ้วน เซียงเต็งจื้อ"

ออกอากาศทาง TNN2 Truevision ช่อง 8 ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 20.20 - 20.30 น.

 

 จตุมหาราช, เซียงเต็กจื้อ, กัจจายนะ, ประวัติศาสตร์จีน

                เรารู้จักเทพ 4 องค์ ที่มีความหมายว่า ลม ฝน ราบรื่น ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล เป็นเทพเจ้าที่เราเห็นว่าถือพิณคือความเหมาะสม ถือดาบคือลม โหวคือฝน ซุ่นเปลี่ยนจากงูทะเลเป็นรูปเจดีย์ ซึ่งมีมาตั้งแต่ในอดีตในสมัยสงครามซางโจ้วถือว่าเป็นเทพเจดีย์ เทพเจดีย์นั้นก็คือแม่ทัพหลี่จิ้น เป็นพ่อของหลี่นาจานั่นเอง เรียกว่าหลายตำนาน แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งบางท้องถิ่นก็บอกตรงๆ เลยว่าเป็นจตุมหาราชตามพุทธศาสนา ถ้าเป็นลัทธิเต๋าก็จะบอกว่าเป็นเทพเจดีย์แม่ทัพในอดีต ถ้าหากว่าเป็นตามท้องถิ่นทุรกันดารก็บอกว่า เทพ 4 องค์นั้นจะคุ้มครองให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ราบรื่นและเรียบร้อยดีในเมืองนั้นๆ ถ้าหมั่นไปสักการะบูชา เพราะถึงอย่างไรชาวจีนก็ยังนับถือเทพแห่งลมฝนกันอยู่

 จตุมหาราช, เซียงเต็กจื้อ, กัจจายนะ, ประวัติศาสตร์จีน

 

สำหรับพระอ้วนที่ชาวจีนนับถือ ดูร่าเริงยิ้มแย้มแจ่มใส และบางรูปก็มีเด็กๆ อยู่บนตัก แสดงถึงความเมตตานั้น คือใคร ซึ่งบ้างก็ว่าเป็นรูปปั้นของพระมหากัจจายนะ เพราะว่าพุทธศาสนาเข้ามาสู่จีนนั้นในรัชสมัยของเจ้าอโศกมหาราชโดยพระมหากัจจายนะ ซึ่งมีนามพ้องกับพระมหากัจจายนะในสมัยพุทธกาล พร้อมกับเรื่องเล่าของพระมหากัจจายนะด้วยว่า เป็นพระอรหันต์สมัยพุทธกาลซึ่งมีรูปลักษณะที่งดงาม เวลาไปไหนคนก็จะทักว่าเป็นพระพุทธเจ้าหรือเปล่า พระมหากัจจายนะถือว่าเป็นการปรามาสพระพุทธองค์จึงเบ่งพอง เพราะว่าพระมหากัจจายนะเป็นพระอรหันต์เบ่งพองตนนั้นให้อ้วนขึ้น

 

แต่พระอ้วนจีนผู้นี้เป็นคนละคนกัน ในอดีตสมัยปลายราชวงศ์ซางก็คือพระจีนมีนามว่า เซียงเต็งจื้อ長汀子ที่จารึกไปทั่ว แต่ก็ขัดกับประวัติศาสตร์ เพราะว่าในประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนาบอกว่ามีการบวชครั้งแรกในสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นคือสมัยของโจโฉ จึงสันนิษฐานว่าอาจเป็นนักบวชของลัทธิเต๋าก็ว่าได้ เพียงแต่ว่าไม่เอ่ยถึง เพราะอันนี้เป็นวัดในพระพุทธศาสนา เซียงเต็งจื้อ เป็นผู้ที่มีอารมณ์ดีเป็นที่รักของเด็กๆ ในภายหลังก่อนที่ท่านจะสิ้น ท่านก็บอกว่าท่านคือพระศรีอาริยะเมตไตรย ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ดังนั้น จึงถือว่าพระจีนอ้วนนี้ก็คือ เซียงเต็งจื้อ หรือพระศรีอาริยะเมตไตรย ที่มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสต้อนรับผู้คนอยู่เสมอ แต่หากว่าจะปั้นเป็นรูปพระ ก็ไม่สมควรเพราะว่าจะเป็นการปรามาส ชาวจีนรู้จักที่จะไม่เลียนแบบผู้ที่สูงกว่า หรือบารมีสูงกว่ามานับแต่บัดนั้น

 

 จตุมหาราช, เซียงเต็กจื้อ, กัจจายนะ, ประวัติศาสตร์จีน

 

สำหรับเรื่องราวความรูปงามของพระมหากัจจายนะที่เล่าสืบต่อกันมานั้น ท่านอาจจะรูปงามเพราะบุคคลที่ถึงพร้อมด้วยศีลและทานก็น่าจะรูปงาม และก็มาถึงพระเซียงเต็งจื้อ หรือพระจีนอ้วน งามตรงไหนก็คืองามที่ใจด้วยมีเมตตาและเป็นที่รักของทุกคน

 

 

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 72 พิธีเซ่นบวงสรวงเริ่มจากธรรมชาติ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 71 นิมิตลางบอกเหตุ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 70 สิ่งประดิษฐ์ของชาวจีนโบราณ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 67 ทวารบาลทั้ง 4 โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 66 การสร้างวัดม้าขาว ตอน 2 โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 65 การสร้างวัดม้าขาว โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 64 ความเชื่อเรื่องยาอายุวัฒนะในลัทธิเต๋า โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 63 สาเหตุแห่งความเชื่อเรื่องเซียน โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 62 พุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีน โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 61 ความเชื่อในศาสตร์โบราณต่างๆ โดย อาจารย์แอน