สาระจากเมืองมังกร

 

สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 66 การสร้างวัดม้าขาว ตอน 2 โดย อาจารย์แอน
5 ม.ค. 2557

 

สรุปบทความจากรายการ

"สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 66 การสร้างวัดม้าขาว ตอน 2"

ออกอากาศทาง TNN2 Truevision ช่อง 8 ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 20.20 - 20.30 น.

 

 

 ประวัติศาสตร์จีน, วัดม้าขาว, ลั่วหยาง, โจวตะวันออก

 

            เรื่องราวของวัดม้าขาวยังมีต่อ วัดม้าขาวถือเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาแห่งแรกในประเทศจีนก็ว่าได้ วัดนี้ตั้งอยู่ที่เมืองลั่วหยาง เมืองหลวงของโจวตะวันออกและฮั่นตะวันออกในเวลาต่อมา นับว่าว่าเป็นหนึ่งในเมืองหลวงเก่าแก่ของประเทศจีน และจะสังเกตได้ว่าจะมีพุทธสถานรวมทั้งรูปปั้นและภาพแกะสลักที่เกี่ยวพันกับพุทธศาสนามากมาย

 

ประวัติศาสตร์จีน, วัดม้าขาว, ลั่วหยาง, โจวตะวันออกสมัยแรกๆ ที่ยังไม่มีรูปปั้นหรือภาพวาด ต่างก็คิดว่าจะนำสิ่งใดขึ้นสักการะบนแท่นบูชา เพราะพระพุทธรูปเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทั้งจะปั้นเป็นแบบอินเดียก็ไม่ใช่เป็นของง่าย เพราะว่าสถานที่จะปั้นขึ้นมานั้นอยู่ในประเทศจีน ใครเล่าที่จะบอกพุทธลักษณะได้ถูกต้อง ก็ได้แต่วาดภาพตามจินตนาการเท่านั้นเอง ยุคแรกจึงเป็นภาพวาดเสียส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นแบบภาพวาดของศากยมุนีหรือพระพุทธเจ้าในเวลาต่อมา

 

ในช่วงแรกที่มีภิกษุมาจำพรรษาอยู่ จะมีการเรียนการสอนในแนวของพุทธศาสนาอย่างแท้จริง โดยเอาเรื่องการให้ทานเป็นหลัก มีการเปิดโรงทานให้กับคนยากจน ดังนั้นพุทธศาสนาจึงเผยแผ่ไปอย่างรวดเร็วมาก เพราะเอื้ออารีต่อผู้คนยากจนและไม่ขัดต่อลัทธิเต๋าที่มีอยู่แล้ว

 

ทำไมถึงชื่อว่าวัดม้าขาว


เมื่อเริ่มแรกของการก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นโดยหลิวปัง ใช้ม้าทำศึกตลอดมาไม่ว่าจะรบกับซุงหนูหรือรบที่ใดก็ตาม แม้แต่การเดินทางไม่ว่าจะเป็นเส้นทางสายไหมหรือไปทำการค้าขายก็ใช้ม้าเป็นพาหนะเช่นกัน ทั้งม้าก็ยังนำพระไตรปิฎกมาสู่ประเทศจีนประวัติศาสตร์จีน, วัดม้าขาว, ลั่วหยาง, โจวตะวันออก

ม้าดำ ม้าเหงื่อโลหิตเป็นสัญลักษณ์ของศึกสงคราม ส่วนม้าขาวเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ความสะอาด ดังนั้น จึงตั้งชื่อว่า วัดม้าขาว

 

สถานที่แห่งนี้เป็นที่ร่มเย็น สมัยโบราณเป็นที่ที่กว้างใหญ่มาก เป็นอุทยานที่กษัตริย์มาพักผ่อน นัยว่าถือตามอย่างแบบแปลนของพระราชอุทยานในประเทศอินเดีย ที่มีวัดอยู่ในพระราชอุทยานนั้น ยกตัวอย่างเช่น เชตวันมหาวิหาร ซึ่งในอดีตก็เป็นสวนเจ้าเชตซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ ด้วยเหตุคตินิยมดังกล่าว วัดม้าขาวจึงมีอุทยานที่กษัตริย์มักจะมานั่งพักผ่อนอยู่เสมอด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชบิดาของหลิวเชอะหรือฮั่นอวู่ตี้ มักจะมานั่งอยู่เงียบๆ เมื่อต้องการทบทวนปัญหาข้อราชการ ในเวลาต่อมา พระเจ้าฮั่นอวู่ตี้เองก็ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่ทบทวนในเรื่องข้อราชการเช่นเดียวกัน จึงถือว่าเป็นสถานที่ที่เราเรียกแบบชาวพุทธว่า สัปปายะ เพราะเป็นที่สงบร่มรื่นด้วยต้นไม้ จึงเหมาะอย่างยิ่งที่เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา จะเห็นได้จากมีการแปลพระสูตร 42 บทด้วยกัน ณ สถานที่แห่งนี้

 

 ประวัติศาสตร์จีน, วัดม้าขาว, ลั่วหยาง, โจวตะวันออก
 

 

 

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 72 พิธีเซ่นบวงสรวงเริ่มจากธรรมชาติ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 71 นิมิตลางบอกเหตุ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 70 สิ่งประดิษฐ์ของชาวจีนโบราณ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 69 บทสวดแรกเกิดขึ้นในสมัยใด โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 68 พระจีนอ้วน เซียงเต็งจื้อ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 67 ทวารบาลทั้ง 4 โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 65 การสร้างวัดม้าขาว โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 64 ความเชื่อเรื่องยาอายุวัฒนะในลัทธิเต๋า โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 63 สาเหตุแห่งความเชื่อเรื่องเซียน โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 62 พุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีน โดย อาจารย์แอน