สาระจากเมืองมังกร

 

สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 3 ยุค 3 ราชวงศ์ โจวกงและเจียงไท่กง
15 พ.ค. 2556

 

 

ประวัติศาสตร์จีน, ราชวงศ์เซี่ย, ราชวงศ์โจว, เจียงไท่กง, โจวกง

สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 3

 

ยุค 3 ราชวงศ์ โจวกงและเจียงไท่กง

 

จากยุคตำนานเข้าสู่ยุคราชวงศ์
 

          ราชวงศ์แรกของประเทศจีนคือ มีนามว่า ราชวงศ์เซี่ย ต่อด้วย ราชวงศ์ซาง และราชวงศ์โจว โดยมากเวลาเราพูดถึงเราจะพูดต่อกันว่า ราชวงศ์เซี่ยซางโจว   

ราชวงศ์เซี่ยเป็นราชวงศ์ที่ได้ก่อตั้งกันมา หลังจากที่ดั้งเดิมมาจะคัดเลือกผู้ที่มีคุณธรรม ผู้ที่มีความดี ขึ้นเป็นกษัตริย์ แต่หลังจากนั้นอาจจะเพราะว่ามีตัวตนมากขึ้นหรืออย่างไรก็แล้วแต่ ไม่มีการเลือกแล้ว แต่เป็นการสืบทอด จึงถือว่าเป็น “ราชวงศ์” ราชวงศ์เซี่ย ราชวงศ์ซาง ราชวงศ์โจว ต่างก็ช่วยกัน แต่ละราชวงศ์ปกครองชนเผ่าต่างๆ ในลักษณะของกษัตริย์ปกครองพลเมือง เพราะจะมีคนเข้ามาเพิ่มมากเรื่อยๆ ที่ขึ้นชื่อมากที่สุด คือ ราชวงศ์โจว เพราะว่าราชวงศ์โจวนั้นก่อตั้งมาเป็นเวลาถึง 800 ปีด้วยกัน

 

 ประวัติศาสตร์จีน, ราชวงศ์เซี่ย, ราชวงศ์โจว, เจียงไท่กง, โจวกง

 

บุคคลสำคัญที่ควรรู้จัก คือ โจวกง ผู้ทำให้ราชวงศ์โจวมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่น เป็นผู้กำหนดพิธี ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่ใช้ในสังคม เป็นน้องของโจวอู่หวัง มี เจียงไท่กง เป็นผู้ช่วย

 

ตำราของเจียงไท่กง คือ ต้นแบบของตำราการศึกการรบในสมัยสามก๊ก รวมถึงตำราฮวงจุ้ยด้วย

 

ประวัติศาสตร์จีน, ราชวงศ์เซี่ย, ราชวงศ์โจว, เจียงไท่กง, โจวกงก่อนจะเอ่ยถึงท่านเจียงไท่กง จะขอเอ่ยถึงท่านผู้หนึ่ง ผู้ซึ่งวางรากฐานระเบียบแบบแผนของชาวจีนในเวลาต่อมา คือ ท่านโจวกง (周公) ท่านผู้นี้อยู่ในสมัยราชวงศ์โจว เป็นน้องของโจวเหวินหวาง ก็เหมือนกับเป็นผู้สำเร็จราชการ เป็นคนที่มีความสามารถสูงมาก โจวกงเป็นคนที่รบเก่ง แล้วก็มักจะไปสนทนากับท่านเจียงไท่กงเสมอๆ จากนั้นก็นำเอาแบบแผน หรือในลักษณะของการวางรูปแบบของผังเมืองออกมากระจายอำนาจสู่ชนบทต่างๆให้ช่วยกันดูแล นั่นหมายถึง เป็นลักษณะของเจ้าผู้ครองรัฐ คือ ในระยะแรกต้องส่งเชื้อพระวงศ์แฃ่เดียวกันออกไปครองยังเมืองต่างๆ ทั้งเมืองเล็กเมืองน้อย และก็สร้างความเจริญ โดยรับนโยบายจากส่วนกลาง เป็นครั้งแรกที่มีการสร้างระบบแบบนี้ขึ้นมา เพราะจักรพรรดิเพียงองค์เดียว ไม่สามารถจะดูแลได้ทั่วถึง จึงจำเป็นต้องให้ราชโอรส เชื้อพระวงศ์ต่างก็มีส่วนร่วมด้วย  

 

ในเวลาต่อมา ก็เป็นยุคสงครามระหว่างรัฐ เพราะเจ้าผู้ครองนครซึ่งเป็นแซ่เดียวกันกับกษัตริย์นั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

 

ข้อดีคือว่ารับแผนรับนโยบายจากส่วนกลางมาดูแลประชาชน ตอนนั้น ท่านโจวกงเป็นผู้ควบคุมในรัฐต่างๆ ก็สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง แต่เมื่อสิ้นท่านโจวกงและก็ท่านเจียงไท่กงแล้ว ก็มีการเปลี่ยนแปลง  แต่ละรัฐต่างก็มีกองทหารของตัวเอง แสวงหาอำนาจให้กับตัวเอง ดังนั้น จึงเกิดสงครามระหว่างรัฐ ส่งผลให้บ้านเมืองระส่ำระส่ายในเวลาต่อมา 

 

ถึงแม้ว่าท่านโจวกง กับ เจียงไท่กง จะมีสติปัญญามากมายเพียงใด วางรากฐานให้เหมาะสมกับแผ่นดินอันกว้างใหญ่ หรือกับประชาชนอันมากมาย ก็ยังมีข้อเสียอยู่ดี  การให้อำนาจมากเกินไปหากว่าส่วนกลางมีกำลังที่อ่อนแอกว่า รัฐต่างๆ ก็สามารถแย่งชิงความเป็นใหญ่ได้เหมือนกัน


 ประวัติศาสตร์จีน, ราชวงศ์เซี่ย, ราชวงศ์โจว, เจียงไท่กง, โจวกง

 

 

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 72 พิธีเซ่นบวงสรวงเริ่มจากธรรมชาติ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 71 นิมิตลางบอกเหตุ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 70 สิ่งประดิษฐ์ของชาวจีนโบราณ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 68 พระจีนอ้วน เซียงเต็งจื้อ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 67 ทวารบาลทั้ง 4 โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 66 การสร้างวัดม้าขาว ตอน 2 โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 65 การสร้างวัดม้าขาว โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 64 ความเชื่อเรื่องยาอายุวัฒนะในลัทธิเต๋า โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 63 สาเหตุแห่งความเชื่อเรื่องเซียน โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 62 พุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีน โดย อาจารย์แอน