สาระจากเมืองมังกร

 

สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 48 เจ็ดราชธานีเก่าแก่ของจีน โดย อาจารย์แอน
12 พ.ย. 2556

 

สรุปบทความจากรายการ

ประวัติศาสตร์จีน, ฉู่ - ฮั่น, หลิวปัง, กบฎชาวนา, เซียงอวี่, ฌ้อปาอ๋อง

"สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 48 เจ็ดราชธานีเก่าแก่ของจีน "

ออกอากาศทาง TNN2  Truevision ช่อง 8 ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 20.20 - 20.30 น.

 

                เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญที่ควรเอ่ยถึงคือ หลิวปัง หรือ เล่าปัง เป็นต้นตระกูลแซ่เล่า ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ฮั่น ซึ่งคนในตระกูลนี้ที่รู้จักกันดีก็คือ เล่าปี่ แต่ในที่นี้จะขอเอ่ยคำว่า หลิวปัง เวลาท่านไปค้นตำรับตำราหรือค้นในคอมพิวเตอร์ จะพบคำว่าหลิวปังมากกว่าเล่าปัง

 

หลิวปังเป็นชาวอำเภอเพ่ยเสี้ยน ในช่วงนั้น ราชวงศ์ฉินหรือรัฐฉินมีความเสื่อมลงอย่างเห็นได้ชัด อาณาประชาราษฎร์ได้รับความเดือดร้อน ด้วยการปกครองที่กดขี่ข่มเหง ภาษีที่แพง มีโจรผู้ร้ายทั่วไป หลิวปังเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่เกณฑ์ทหารและปราบโจรลักเล็กขโมยน้อยอยู่ที่อำเภอเล็กๆ ในขณะนั้นเมืองหลวงก็คือเมืองเสียนหยาง ที่ปัจจุบันนี้อยู่ห่างจากซีอานไปประมาณ 10 กว่ากิโลเมตร

 

เมืองหลวงเก่าแก่ของประเทศจีนนั้นมีอยู่ 7เมืองด้วยกัน ก็คือ "ซีอาน" ซึ่งในยุครัฐฉินหรือว่าจิ๋นซีก็คือ  "เสียนหยาง" และเมือง "ลั่วหยาง" ซึ่งจะปรากฏชื่อในสมัยราชวงศ์ฮั่นมากที่สุดเพราะมีการย้ายเมืองหลวงอยู่บ่อยครั้ง ในสมัยราชวงศ์โจวก็มี ช่วงโจวตะวันออกนั้นก็หมายถึงเมืองลั่วหยางนั่นเอง และมีเมือง "ไคฟง" ซึ่งยุคสมัยราชวงศ์ซ้องที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือเปาปุ้นจิ้น ผู้เป็นเจ้าเมือง ก็เป็นเมืองหลวงเก่าแก่ เมือง "เจิ้งโจว" มีการเอ่ยถึงบ่อยที่สุด ถ้าหากว่าใครอ่านหนังสือจีน หนังจีนก็จะได้ยินคำว่าจี้โจว ก็คือเมืองเจิ้งโจวนั่นเอง แต่คนละเมืองกับจิงโจว จิงโจวนั้นคือเก็งจิ๋วในสามก๊ก และก็มีเมือง "เจี้ยนคัง" หรือเมือง "นานกิง" และก็ "เฉิงตู" มณฑลเสฉวน นับเป็น 7เมืองหลวงเก่าแก่ซึ่งยังคงใช้ชื่อเดิมอยู่ ส่วน เปี้ยนจิง คือ "ปักกิ่ง" เป็นเมืองหลวงเก่าแก่ในสมัยราชวงศ์หมิง แต่ถ้านับก็จะเป็นหนึ่งในเมืองหลวงที่เก่าแก่เช่นกัน
 

 ประวัติศาสตร์จีน, ฉู่ - ฮั่น, หลิวปัง, กบฎชาวนา, เซียงอวี่, ฌ้อปาอ๋อง

 

กลับมาสู่เรื่องราวของหลิวปัง อยู่ที่เมืองเล็กๆ เพ่ยเสี้ยน เป็นเมืองที่ทำนามากที่สุด ดังนั้น การส่งส่วยหรือการเกณฑ์ผู้คน หรือการมาเอาข้าวในนา ข้าวปลาอาหาร สิ่งเหล่านี้ก็มีมากที่สุดเช่นกัน เพราะฉะนั้นประชาชนที่นี่ได้รับความกดดันและอดอยากมากที่สุด ทำให้หันไปร่วมมือกับกลุ่มโจรที่ก่อการกบฏขึ้นในขณะนั้น และก็มีการเกณฑ์ทหารโดยมอบหมายให้หลิวปัง ซึ่งเป็นลูกน้องของบุคคลที่มีชื่อในประวัติศาสตร์ คือ เซียวเหอ ช่วยกันเกณฑ์คนเข้าสู่รัฐฉินหรือเมืองหลวงเสียนหยาง เพื่อต่อต้านกลุ่มกบฏ และตอนนี้เองที่เกิดเหตุการณ์สำคัญว่าเดินทางไปไม่ถึง ในที่สุดจึงตัดสินใจหนีทหาร และมีการจัดตั้งกองกำลังเพื่อต่อต้านรัฐฉินหรือต่อต้านราชวงศ์ฉินอีกครั้งหนึ่ง โดยการนำของหลิวปังผู้นี้

 

 ประวัติศาสตร์จีน, ฉู่ - ฮั่น, หลิวปัง, กบฎชาวนา, เซียงอวี่, ฌ้อปาอ๋อง

 

ติดตามชมรายการย้อนหลังได้ที่  http://www.youtube.com/watch?v=WNJSnMmcusM

 

 

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
  • พิชัยสงครามกับสามก๊ก ตอนที่ ๒๑ – ดวงดาวที่แสดงถึงความสำเร็จ
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 72 พิธีเซ่นบวงสรวงเริ่มจากธรรมชาติ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 71 นิมิตลางบอกเหตุ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 70 สิ่งประดิษฐ์ของชาวจีนโบราณ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 68 พระจีนอ้วน เซียงเต็งจื้อ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 67 ทวารบาลทั้ง 4 โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 66 การสร้างวัดม้าขาว ตอน 2 โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 65 การสร้างวัดม้าขาว โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 64 ความเชื่อเรื่องยาอายุวัฒนะในลัทธิเต๋า โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 63 สาเหตุแห่งความเชื่อเรื่องเซียน โดย อาจารย์แอน