- ฮวงจุ้ยพื้นฐาน
- รูปภาพและความหมาย
- ฮวงจุ้ยสำนักงาน
- ฮวงจุ้ยที่ดิน
- ฮวงจุ้ยร้านค้า
- ฮวงจุ้ยบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
- ข้อห้ามเกี่ยวกับการเลือกที่อยู่อาศัย
- ทำเลเสียดูอย่างไร
- ดาว ๙ ยุคคืออะไร
- ดวงจีน
- การดูลักษณะภูเขา
- กรณีศึกษาฮวงจุ้ย
- ประสบการณ์การดูทำเลของอาจารย์แอน
- คำคม..ข้อคิด
- เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
- เกร็ดความรู้ที่ได้จากวรรณคดี
- บทความพิเศษ
17 ส.ค. 2556
สรุปบทความจากรายการ
"สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 34 อิงเจิ้นคือใคร"
ออกอากาศทาง TNN2 Truevision ช่อง 8 ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 20.20 - 20.30 น.
อาจมีบางคนเริ่มสงสัยว่า จิ๋นซื่อหวง(秦始皇)จิ๋นซีอ๋อง อิงเจิ้น (政)เป็นคนเดียวกันหรือไม่ คำตอบคือเป็นคนเดียวกัน ตามประวัติศาสตร์เขียนไว้ว่า ในวัยเด็กมีชื่อว่า อิงเจิ้น เราจะได้ยินบ่อยในภาพยนต์ เมื่อขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า จิ๋นซี คำว่า จิ๋นซี นี้เป็นคำเรียกขานของคนไทย แต่ถ้าเราอ่านตามหนังสือแล้ว จะเรียกว่า จิ๋นซื่อหวงตี้ สรุปแล้วทั้งหมดนี้เป็นชื่อของคนเดียวกัน คำว่า จิ๋น คือ ฉิน หรือ รัฐฉิน มีความหมายถึงผู้ครองรัฐฉิน
อิงเจิ้นเมื่อน้อยเติบโตที่เมืองหานตาน แคว้นเจ้า เรื่องราวของอิงเจิ้นค่อนข้างซับซ้อน เพราะตอนที่เกิดแม้ไม่ได้เกิดที่รัฐฉิน แต่ถือว่าเป็นผู้มีชาติกำเนิดสูงส่ง เนื่องจากว่าเป็นโอรสของเจ้าชายจี๋อฉู่ ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของฉินอ๋องในยุคนั้น เจ้าชายจี๋อฉู่มาเป็นองค์ประกันอยู่ที่แคว้นเจ้า
รัชทายาทของฉินอ๋องมีชายาหลายนาง และรัชทายาทองค์นี้ยังไงก็ต้องขึ้นครองราชย์ ด้วยเหตุนี้ หลี่ปู้เหว่ย (呂不韋)ไปหาชายาของรัชทายาทเพื่อขอให้รับองค์ชายจื๋อฉู่เป็นบุตรบุญธรรม เพราะดูลักษณะแล้วว่า องค์ชายผู้นี้ต้องได้ขึ้นครองต่อจากฉินอ๋องคนปัจจุบัน ซึ่งตอนนั้นอิงเจิ้นยังอยู่ในท้องของเจ้าจี (趙姬)ชายาของเจ้าชาย ซึ่งแม้มีคนสงสัยว่าอิงเจิ้นอาจเป็นลูกของหลี่ปู้เหว่ย ตามประวัติศาสตร์ได้บอกมาชัดเจนว่าไม่ใช่
เมื่อรัชทายาทขึ้นครองเป็นฉินอ๋องคนต่อไป ชายามารดาบุญธรรมซึ่งเป็นคนโปรดซึ่งอาจจะเป็นฮองเฮาหรือชายาเอก ได้เสนอฉินอ๋องคนปัจจุบันแต่งตั้งจี๋อฉู่เป็นรัชทายาท ตามคำแนะนำของหลี่ปู้เหว่ย เมื่อจี๋อฉู่ได้เป็นรัชทายาท ในอนาคตอิงเจิ้นก็ต้องเป็นรัชทายาทเหมือนกัน การเป็นรัชทายาทนั้นต้องแต่งตั้งก่อน มิฉะนั้นจะมีการแย่งชิงราชสมบัติกัน ทั้งหมดนี้เกิดจากสายตาที่ยาวไกลของหลี่ปู้เหว่ย ในการที่จะวางแผนแต่งตั้งรัชทายาทเป็นลำดับ ตามขั้นตอน เพื่อความเป็นใหญ่ในอนาคตของตน
หลังจากที่แต่งตั้งรัชทายาทแล้ว รัชทายาทจะไปอยู่ที่แคว้นเจ้าต่อไปไม่ได้ จึงมีการนำองค์ชายจี๋อฉู่กลับมาสู่แคว้นฉิน เมื่อกลับมาไม่นาน ฉินอ๋ององค์นี้ก็สิ้นพระชนม์ลง อาจจะเพราะขึ้นครองราชย์เมื่ออายุมากแล้ว จี๋อฉู่รัชทายาทก็ดำรงตำแหน่งเป็นฉินอ๋องคนที่ 3ส่วนอิงเจิ้นก็ได้เป็นรัชทายาททันที ตอนนี้เองที่หลี่ซือก็ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอาจารย์สอนอิงเจิ้นในเรื่องของหลักวิชาว่าด้วยการปกครอง
มีคำถามหนึ่งที่แสดงถึงความสังเกตของอิงเจิ้นที่ถามว่า ทำไมภาษาของแคว้นเจ้าที่หานตาน จึงแตกต่างจากภาษาของชาวฉิน เสนาบดีหลี่ซือก็ตอบว่า ทุกแคว้นมีภาษาของตน มีวัฒนธรรมประเพณีของตนแตกต่างกันไป ทั้งๆ ที่อยู่ภายใต้ราชวงศ์โจวเหมือนกัน จิ๋นซีหรืออิงเจิ้นในตอนนั้นก็คิดตามทันทีว่า คำพูดนี้หมายความว่าอย่างไร หลี่ซือขยายความคิดว่า เมื่อใดก็ตามที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ ควรจะรวมทั้งหมดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นปฐพีเดียวกัน และในเวลานั้นตอนนั้นอิงเจิ้นได้ศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ในยุคสมัยชุนชิว รวมทั้งพงศาวดาร ตำนานเทพ นับว่าอิงเจิ้นผู้นี้มีพื้นฐานทั้งทางด้านการศึกษา และที่สำคัญมาจากชาติตระกูลที่ดีสามารถรวมประเทศได้ในเวลาต่อมา
ขอบคุณภาพจาก google
ชมรายการย้อนหลังได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=mJDfCNwvV4k