- ฮวงจุ้ยพื้นฐาน
- รูปภาพและความหมาย
- ฮวงจุ้ยสำนักงาน
- ฮวงจุ้ยที่ดิน
- ฮวงจุ้ยร้านค้า
- ฮวงจุ้ยบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
- ข้อห้ามเกี่ยวกับการเลือกที่อยู่อาศัย
- ทำเลเสียดูอย่างไร
- ดาว ๙ ยุคคืออะไร
- ดวงจีน
- การดูลักษณะภูเขา
- กรณีศึกษาฮวงจุ้ย
- ประสบการณ์การดูทำเลของอาจารย์แอน
- คำคม..ข้อคิด
- เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
- เกร็ดความรู้ที่ได้จากวรรณคดี
- บทความพิเศษ
3 ส.ค. 2556
สรุปบทความจากรายการ
"สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 30 การแบ่งชั้นวรรณะของจีน มีมาแต่สมัยใด"
ออกอากาศทาง TNN2 Truevision ช่อง 8ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 20.20 - 20.30 น.
เราเคยได้ยินคำว่า สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง เหมือนกับเป็นการแบ่งชั้นวรรณะ เราทราบว่าอินเดียมีการแบ่งชั้นวรรณะ ซึ่งมีอยู่ 5วรรณะด้วยกัน แต่ทราบหรือไม่ว่า ประเทศจีนก็มีการแบ่งชั้นวรรณะเหมือนกัน เพียงแต่ว่าวรรณะในประเทศจีนเขาถือว่า ถ้าหากว่าใครมีอาชีพอะไร ลูกก็จะสืบเชื้อสาย อย่างเช่น เป็นพ่อค้าลูกก็จะเป็นพ่อค้า เราจะเห็นในภาพยนตร์จีนอยู่เสมอๆ อย่างเช่นใครจะเป็นผู้สืบทอดตระกูล สืบทอดกิจการ เพราะว่าจากพ่อสู่ลูกอันนี้เป็นเรื่องปกติ คือแบ่งชนชั้นโดยการสืบทอดตระกูล เรื่องของการแบ่งชนชั้นไม่ใช่เพิ่งเกิด ราชวงศ์ถังหรือเปล่า ราชวงศ์ซ้องหรือเปล่า ซึ่งเราถือว่าเก่าแก่แล้ว แม้สมัยราชวงศ์ฮั่นก็ 1,700ปีมาแล้ว แท้จริงการแบ่งชนชั้นอย่างชัดเจนมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เซี่ย ซาง โจว กว่าสามพันปีมาแล้ว
เราจะเห็นว่าสมัยราชวงศ์เซี่ย ซาง โจว ที่มีการบันทึกประวัติศาสตร์โดยซื่อหม่าเฉียน ซึ่งเป็นคนในสมัยราชวงศ์ฮั่นนั้น เป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมความเชื่อ และถือประพฤติปฏิบัติจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ในเรื่องของการแบ่งชั้นวรรณะ นับตั้งแต่ชั้นกษัตริย์ คือระยะแรกจะคัดหาคนดีที่สุดมาเป็นผู้นำ ผู้ปกครอง ฮ่องเต้ที่เรียกกันว่าอึ้งตี่ และต่อมาก็กลายเป็นสืบทอดจากพ่อสู่ลูก นั่นเป็นการเริ่มครั้งแรก ก็คือ ในยุคพงศาวดารตำนานเทพนั่นเอง เมื่อชนชั้นผู้นำทำตนเป็นแบบอย่าง ดังนั้นบุคคลใดมีอาชีพอย่างไร ก็จะสอนเทคนิคอย่างนั้น เช่น คนทอผ้าก็จะสอนลูกหลานตนให้สืบทอด เราสังเกตหรือไม่ว่า แม้ปัจจุบันนี้คนจีนก็ยังมีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นในเรื่องของสูตรหรือตำหรับพิเศษ อาจจะมีจางไปบ้างแต่ก็ยังสืบทอดมาถึงปัจจุบัน นั่นคือการแบ่งชั้นวรรณะแบบชาวจีน
ในสมัยก่อน ลูกของขุนนางก็จะต้องเป็นขุนนาง เป็นไปไม่ได้ที่ลูกขุนนางอยากจะเป็นพ่อค้าแล้วก็จะไปค้าขาย ลูกขุนนางจะต้องสอบเข้ารับราชการ หรือบางครั้งลูกขุนนางก็จะแข่งขันกันเอง แบ่งชั้นลำดับของข้าราชการ แต่ก็ถือว่าเป็นการสืบทอด เพียงแต่ในอดีตเคร่งครัดกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัยราชวงศ์โจว ถ้าหากว่าพ่อเป็นอ๋อง ลูกก็สืบทอดความเป็นอ๋อง พ่อมีตำแหน่งเป็นกง ลูกก็สืบทอดความเป็นกง แล้วแต่ตำแหน่งที่เป็นมา เรียกว่าใช้สืบทอดเอา ไม่ต้องใช้การสืบทอดโดยการสอบแข่งขันหาผู้มีความสามารถ
ส่วนพ่อค้าก็เช่นเดียวกัน แม้กระทั่งชาวนายังมีการสืบทอด เขาจะไม่ข้ามวรรณะกัน นี่คือลักษณะที่เคร่งครัดของเรื่องชั้นวรรณะ
หากลูกขุนนางไปแต่งงานกับลูกชาวนาจัดเป็นเรื่องใหญ่ในสมัยก่อน นั่นเป็นการแสดงถึงการแบ่งชั้นวรรณะอย่างชัดเจน ลูกขุนนางก็ต้องแต่งกับลูกขุนนาง ลูกพ่อค้าก็ต้องแต่งกับลูกพ่อค้า
ต่อมาหลังยุคชุนชิว ในสมัยราชวงศ์ต่างๆ นั้น แม้จะถือตามเทพหนี่วา คือพี่น้องแต่งงานกันเอง ไม่แตกแยกไปสู่วงอื่น แต่ก็เปลี่ยนแปลงมากแล้ว คือตามยุคตามสมัย แต่ว่าการสืบทอดของตระกูลก็ยังคงมีอยู่จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ เราจะเห็นได้ในทุกราชวงศ์เลยทีเดียว และถือกันเคร่งครัดมากในสมัยราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ้อง และราชวงศ์หมิง
ชมรายการย้อนหลังได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=a8Xdc80SRlE