สาระจากเมืองมังกร

 

สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 26 ปราชญ์ 100 สำนัก และความขัดแย้งของคำสอน โดย อาจารย์แอน
21 ก.ค. 2556

 

สรุปบทความจากรายการ

"สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 26 ปราชญ์ 100 สำนัก และความขัดแย้งของคำสอน"

ออกอากาศทาง TNN2 Truevision ช่อง 8 ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 20.20 - 20.30 น.



 ประวัติศาสตร์จีน,  ปราชญ์ร้อยสำนัก, เม่งจื้อ, ขงจื้อ

 

                เราจะเห็นว่าชาวจีนจะได้รับอิทธิพลจากนักปราชญ์ ในสมัยยุคชุนชิวต่อยุคจ้านกว๊อค่อนข้างมาก และก็ได้รับอิทธิพลแนวความคิดในด้านวิถีการดำเนินชีวิตในด้านอื่นๆ ด้วย ยุวกษัตริย์ในรุ่นหลังๆ ต้องร่ำเรียนชีวประวัติ วิธีคิดของเหล่าปราชญ์ และปรัชญาต่างๆ ที่เรียกว่า ปรัชญา 100 สำนัก ศึกษาเรื่องราวของขงจื้อ ของลัทธิสำคัญๆ ในยุคนั้น ผู้ที่สามารถท่องกลอน เขียนอักษร วาดภาพ รอบรู้ปรัชญาในยุคสมัยนี้จึงจะได้ชื่อว่าเป็น บัณฑิต


 

ประวัติศาสตร์จีน,  ปราชญ์ร้อยสำนัก, เม่งจื้อ, ขงจื้อมีบัณฑิตท่านหนึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นเจ้าสำนักเหมือนกัน คือ อิงจื้อ แนวความคิดของอิงจื้อทำให้ยุวกษัตริย์หรือว่ากษัตริย์ทั้งหลาย ในยุคนั้นและรุ่นหลังๆ ตีความหมายและเข้าใจผิดได้ เพราะว่าปรัชญาของอิงจื้อเน้นความสุขสำราญวันต่อวัน ความจริงเมื่อศึกษาโดยละเอียดแล้ว เสมือนหนึ่งคำสอนที่ประคองจิตให้ผ่องใสอยู่เสมอของศาสนาพุทธนั่นเอง เพียงแต่ถ้อยคำที่เขาเขียนหรือสอน กลายเป็นว่าให้สุขสำราญวันต่อวัน เมื่อแปลหรือตีความออกมาดังนี้แล้ว หากอาจารย์หรืออำมาตย์ท่านใดนำความเข้าใจผิดนี้ไปสั่งสอนยุวกษัตริย์ ก็ทำให้เข้าใจว่าเมื่อเป็นกษัตริย์แล้วก็ต้องทำตนให้สุขสำราญวันต่อวัน จึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต

 

ประวัติศาสตร์จีน,  ปราชญ์ร้อยสำนัก, เม่งจื้อ, ขงจื้อ

นอกจากนี้แล้วอิ้งจื้อยังแนะนำว่า นอกจากจะทำตนให้สุขสำราญวันต่อวันแล้ว บุคคลทั้งหลายที่อยู่รอบๆ ตน ก็ต้องสุขสำราญด้วย นับเป็นความเข้าใจผิดของฮ่องเต้ที่เข้าข้างตนเอง นำความสุขสำราญมาสู่ตนเองด้วยการที่มัวเมาในสุราและนารี และก็ให้ข้าราชบริพาร อำมาตย์หรือคนในราชสำนักสุขสำราญดั่งเช่นตน แต่ทว่าอาณาประชาราษฎร์กลับลำบาก เป็นสิ่งที่ขัดกันอยู่ในที ฉะนั้น บางครั้งปรัชญา 100 สำนักก็มีช่องโหว่ หากว่าคำสอนนั้นไม่ละเอียดเพียงพอ ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับว่ารัฐใดให้ความสำคัญในเรื่องใดมากที่สุด แต่แน่นอนในเรื่องของความสุขสำราญวันต่อวันย่อมเป็นสิ่งที่ง่ายต่อการปฏิบัติ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ทุกคนชอบอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้หลักปรัชญาของอิ้งจื้อ จึงไม่ถูกกับลัทธิขงจื้อ หรือของนักปราชญ์ท่านอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเล่าจื้อ


 

แม้แต่ท่านเม่งจื้อเองก็มีปรัชญาที่ใกล้เคียงกับท่านขงจื้อ ในเรื่องยึดถือประเพณี ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย เม่งจื้อถือว่าการที่จะเอาความสุขสำราญไปวันต่อวัน โดยหาสาระอันใดมิได้นั้นไม่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เม่งจื้อเองก็เป็นผู้ศึกษาแต่เยาว์วัยและให้ความสำคัญต่อสภาพแวดล้อม เหมือนกับมารดาของตน ดังนั้น แม้แนวคิดในแต่ละสำนักจะมีความขัดแย้งต่อกัน ก็ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้และจะเลื่อมใสในแนวคิดที่ว่าสภาพแวดล้อมมีความสำคัญต่อบุคคล หรือเลือกเชื่อว่าบุคคลควรจะมีการพัฒนาตนเองตามแนวคิดของขงจื้อ หรือเลื่อมใสแนวคิดที่ว่าจะสุขสำราญไปวันต่อวัน โดยไม่ต้องคำนึงถือสภาพแวดล้อมภายนอกหรือส่วนรวมทั้งหมด


 ประวัติศาสตร์จีน,  ปราชญ์ร้อยสำนัก, เม่งจื้อ, ขงจื้อ
 


แนวคิดเหล่านี้เราต้องมาพิจารณาเอง เพราะปรัชญาในแต่ละสำนักนั้น ย่อมแล้วแต่จริตหรือความชอบของคนที่จะปฏิบัติ หรือหากจะมองไปในแง่ดี ที่ทำจิตให้ผ่องใสนั้น จะต้องทำอย่างไร คือ ดีต่อผู้อื่น ดังเช่นปราชญ์ทั้งหลายที่บอกว่า จงนึกถึงผู้อื่นก่อนเสมอ เพราะการนึกถึงแต่ตนเองนั้นไม่ใช่ปราชญ์ที่ดี



 ประวัติศาสตร์จีน,  ปราชญ์ร้อยสำนัก, เม่งจื้อ, ขงจื้อ

 

รับชมรายการย้อนหลัง ได้ที่  http://www.youtube.com/watch?v=1bXoVqc3Ilk

 

 

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 72 พิธีเซ่นบวงสรวงเริ่มจากธรรมชาติ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 71 นิมิตลางบอกเหตุ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 70 สิ่งประดิษฐ์ของชาวจีนโบราณ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 68 พระจีนอ้วน เซียงเต็งจื้อ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 67 ทวารบาลทั้ง 4 โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 66 การสร้างวัดม้าขาว ตอน 2 โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 65 การสร้างวัดม้าขาว โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 64 ความเชื่อเรื่องยาอายุวัฒนะในลัทธิเต๋า โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 63 สาเหตุแห่งความเชื่อเรื่องเซียน โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 62 พุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีน โดย อาจารย์แอน