- ฮวงจุ้ยพื้นฐาน
- รูปภาพและความหมาย
- ฮวงจุ้ยสำนักงาน
- ฮวงจุ้ยที่ดิน
- ฮวงจุ้ยร้านค้า
- ฮวงจุ้ยบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
- ข้อห้ามเกี่ยวกับการเลือกที่อยู่อาศัย
- ทำเลเสียดูอย่างไร
- ดาว ๙ ยุคคืออะไร
- ดวงจีน
- การดูลักษณะภูเขา
- กรณีศึกษาฮวงจุ้ย
- ประสบการณ์การดูทำเลของอาจารย์แอน
- คำคม..ข้อคิด
- เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
- เกร็ดความรู้ที่ได้จากวรรณคดี
- บทความพิเศษ
11 ก.ค. 2556
สรุปบทความจากรายการ
"สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 22ขงจื๊อ และคำสอนแก่ลูกศิษย์"
ออกอากาศทาง TNN2 Truevision ช่อง 8 ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 20.20 - 20.30 น.
ถ้าเราศึกษาประวัติของนักปราชญ์ทั้งหลายในอดีต ใช่ว่าท่านเหล่านั้นจะประสบความสำเร็จหมดทุกคน แม้แต่ขงจื้อเองก็ตาม มามีชื่อเสียงก็ต่อเมื่อท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว
เมื่อขงจื้ออายุ 30 ปี มีลูกศิษย์กว่า 3,000 คน แต่ลูกศิษย์ที่ได้เรื่องมีประมาณ 72 คน และในบรรดาศิษย์ 72 คนนี้ ที่จะได้รับวิชาของขงจื้อจริงๆ ก็มีเพียงไม่กี่คน ในจำนวนนั้นก็จะมี เหยียนฮุ่ย จื่อกัง จื่อลู่ และ เม่งจื้อ เองก็ได้รับอิทธิพลคำสอนของขงจื้อเช่นกัน
ขงจื้อมีคำสอนที่เป็นอมตะที่เราควรจดจำว่า พวกเธออย่าทำตามอย่างที่ฉันสอนทั้งหมด ฉันบอกอะไร เธอก็ทำอย่างนั้นโดยไม่คิดพัฒนาตนเอง
ขงจื้อให้ศิษย์ทั้งหลายนั้นหัดพิจารณาในสิ่งที่ท่านสอนไป โดยบอกว่าหากเธอไม่นำไปพิจารณา ความรู้ก็ไม่อาจพัฒนาสูงขึ้นไปได้ แล้วท่านก็ยังสอนอีกว่า พิจารณาแล้วก็ต้องคิดต่อ ยกตัวอย่างเช่น ฉันบอกว่าโต๊ะมีมุม เธอก็ต้องไปคิดต่อว่า โต๊ะยังมีอีกสามมุม รวมกันแล้วก็คือโต๊ะสี่เหลี่ยม นี่ก็การพิจารณาและพัฒนาความคิดที่จะนำไปสู่ความรู้สูงยิ่งขึ้นไป
เมื่อเหยียนฮุ่ยถามว่า หากไม่มีอาจารย์แล้วจะทำอย่างไร ท่านก็บอกว่าเธอก็ใช้วิธีในสิ่งที่ฉันได้สอนไปพัฒนาพินิจพิจารณา ในยามที่ฉันยังมีชีวิต หากไม่เข้าใจก็จงอย่าทำเป็นเข้าใจ เมื่อไม่เข้าใจเธอก็ต้องมาถาม ครั้นเมื่อฉันสิ้นชีวิตไปแล้ว เธอต้องนึกเสมอว่า ครูนั้นมีมากมายในโลกนี้ หากเดินมาสามคน หนึ่งในจำนวนนั้นต้องเป็นครูของเธอ เพราะว่าเธอรู้จักพัฒนา พินิจพิจารณาใคร่ครวญคิดต่อ ความรู้จึงก้าวหน้า นี่เป็นสิ่งสำคัญของการเรียนรู้ของเหล่าศิษย์ทั้งหลาย และศิษย์ที่เข้าใจคำสอนอันลึกซึ้งนี้มีเพียง 3-4 คนนี้เท่านั้น
แนวคิดหรือว่าการรับราชการของขงจื้อไม่ได้รับการยอมรับจากขุนนางเก่าแก่ อาจจะเป็นเพราะว่า ความคิดของท่านไกลเกินกว่าที่ทุกคนจะคาดคิด ขงจื้อจึงมีความคิดที่จะเขียนหนังสือ ซึ่งเป็นหนังสือที่กล่าวถึงประวัติของบุคคลสำคัญในยุคชุนชิว ชื่อว่า ชุนชิว นอกจากนี้แล้ว ด้วยความฉลาดเฉลียวของขงจื้อ ชอบโคลงกลอน ชอบร้อยเรียงถ้อยอักษร จึงได้แต่งคัมภีร์เพลงจากแคว้นฉู่ซึ่งถือว่าไพเราะที่สุด คัมภีร์นั้นมีชื่อว่า ซือจิง ดังนั้น หนังสือที่เป็นผลงานของเขาซึ่งตกทอดมาถึงปัจจุบันจึงมีอยู่สองเล่ม คือ ชุนชิว และซือจิง เนื่องด้วยในสมัยนั้นยังไม่มีกระดาษ การเขียนจึงต้องสลักลงไม้ไผ่ ศิษย์ของขงจื้อต้องช่วยกันรักษายิ่งชีวิตเลยที่เดียว ถ้าหากว่าใครเคยดูภาพยนตร์เรื่องขงจื้อก็จะเห็นว่าแม้ตัวตายแต่ตำราต้องไม่สูญหาย ชนรุ่นหลังจึงได้มีโอกาสศึกษาตำราที่สืบทอดของขงจื้อในเวลาต่อมา
รับชมรายการย้อนหลังได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=HW8ZzjdEVgs