สาระจากเมืองมังกร

 

สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 21 ขงจื้อ ผู้ก่อตั้งลัทธิหยู โดย อาจารย์แอน
10 ก.ค. 2556

 

สรุปบทความจากรายการ

ประวัติศาสตร์จีน,  ขงจื้อ, ปราชญ์ร้อยสำนัก, ลัทธิหยู

"สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 21 ขงจื้อ ผู้ก่อตั้งลัทธิหยู"

ออกอากาศทาง TNN2 Truevision ช่อง 8 ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 20.20 - 20.30 น



 

                ในช่วงสงครามซางโจ้วสิ้นสุดลง เป็นเหตุการณ์ที่เกิดในยุคสมัย เซี่ย ซาง โจว สงครามซางโจ้ว ถือเป็นการสิ้นสุดของราชวงศ์ซางที่มีมา 600 ปี แล้วต่อด้วยราชวงศ์โจวมาอีก 800 ปี ซึ่งในสมัยราชวงศ์โจวนี้เองที่เข้าสู่ยุคชุนชิว (春秋)  และจ้านกว๋อ  (战国)


 

ในยุคนี้ เราได้ทำความรู้จักบุคคลต่างๆ ที่มีความรู้ความสามารถ มีแนวคิดที่แตกต่างกันไป เป็นช่วง  “ปราชญ์ร้อยสำนัก (诸子百家) ด้วยเหตุที่ เมื่อแต่ละรัฐต่างก็มีอำนาจ มีความยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน จึงเกิดสงครามระหว่างรัฐ เพื่อรวบรวมคน เสบียง การเลี้ยงดูพลเมืองของตนให้ดี ดังนั้น การแย่งชิงอำนาจจึงเป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยง ส่วนการที่มีปราชญ์ร้อยสำนักนั้น
 

ประวัติศาสตร์จีน,  ขงจื้อ, ปราชญ์ร้อยสำนัก, ลัทธิหยู

หมายความว่า ในแต่ละรัฐที่เหล่าอ๋องปกครองอยู่นั้น ต่างก็ต้องการที่ปรึกษาในการทำสงคราม หรือปกครองอาณาประชาราษฎร์ให้เป็นสุข รวมไปถึงการทำอย่างไรให้มีความมั่งคั่ง ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกเช่นกันที่จะต้องมีนักปราชญ์ที่มีความรู้ด้านต่างๆ มาช่วยในการบริหารการปกครอง ทำศึก รวมถึงด้านจริยธรรม เพื่อความเป็นปึกแผ่นของอาณาจักรตน และหนึ่งในจำนวนนั้นที่เราต้องเอ่ยถึงเป็นคนแรก ก็คือ ท่านขงจื้อ (孔子)


 

ที่ต้องเอ่ยถึงท่านขงจื้อก่อน เพราะว่าประเพณีต่างๆ ของชาวจีนในปัจจุบันนี้ ล้วนมีมาตั้งแต่สมัยขงจื้อแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะในเรื่องการเคารพบิดามารดา ครูบาอาจารย์  ประเพณีเหล่านี้ที่คนจีนเคร่งครัดและถือปฏิบัติกันมาช้านาน ก็มาจากลัทธิหยู ผู้ก่อตั้งลัทธิหยู ก็คือ ท่านขงจื้อนั่นเอง ขงจื้อมีนามจริงๆ ว่า ข่งชิว


 

ข่งชิวมีกำเนิดอยู่ที่มณฑลเหอหนานซึ่งในอดีตคือ รัฐซ่ง เป็นหนึ่งในรัฐในยุคชุนชิว บิดาเป็นผู้สูงศักดิ์ เป็นชนชั้นสูง หลังจากที่บิดาถึงแก่กรรม มารดาก็พาขงจื้อหรือท่านข่งชิวไปอาศัยอยู่ในแคว้นหลู่ (鲁)ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในมณฑลชานตง ดังนั้นจึงให้ขงจื้อได้เรียนหนังสือ ขงจื้อเป็นบุคคลที่น่าเอาอย่างเพราะเป็นผู้ว่าง่าย มีความเคารพมารดา เมื่อมารดาให้เรียน เขาก็ตั้งใจเรียน แล้วยังบอกอีกด้วยว่าเมื่อจะเรียนก็ต้องเรียนให้ถึงที่สุด และต้องไม่เลิกล้มกลางคัน ด้วยแนวคิดเช่นนี้ทำให้เขาตั้งใจเรียนเสียจนมารดาต้องมาบอกให้พักผ่อนบ้าง ขงจื้อก็บอกกับมารดาว่า เขาต้องทำให้ดีที่สุด เพราะฉะนั้น สิ่งเหล่านี้เป็นแบบอย่างที่ดีว่า การที่จะเป็นนักปราชญ์ได้ จะต้องมีแนวคิดที่ยึดถือไว้อย่างขงจื้อที่ไม่ล้มเลิกกลางคันและทำทุกอย่างให้ดีที่สุด



   ประวัติศาสตร์จีน,  ขงจื้อ, ปราชญ์ร้อยสำนัก, ลัทธิหยู


ประวัติศาสตร์จีน,  ขงจื้อ, ปราชญ์ร้อยสำนัก, ลัทธิหยู

 


ขงจื้อตั้งใจเรียนตั้งแต่เด็ก จนกระทั่งอายุถึง 20 ปี จึงแต่งงานและมีบุตร ในตอนนั้น ใครเรียนหนังสือก็มีชื่อเสียง ในแคว้นหลู่ก็เช่นกัน ก็ถือว่าขงจื้อเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ แสดงออกจนเป็นที่รู้จักของเจ้าผู้ครองแคว้น เมื่อขงจื้อมีบุตรจึงนำปลามามอบให้ และปลาตัวนั้นก็เป็นที่มาของชื่อของบุตรชาย ที่มีนามว่า ข่งหลี่


 

    ประวัติศาสตร์จีน,  ขงจื้อ, ปราชญ์ร้อยสำนัก, ลัทธิหยู  

 

ชมรายการย้อนหลังได้ที่  http://www.youtube.com/watch?v=WIe-U9oSfgs

 

 

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 72 พิธีเซ่นบวงสรวงเริ่มจากธรรมชาติ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 71 นิมิตลางบอกเหตุ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 70 สิ่งประดิษฐ์ของชาวจีนโบราณ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 68 พระจีนอ้วน เซียงเต็งจื้อ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 67 ทวารบาลทั้ง 4 โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 66 การสร้างวัดม้าขาว ตอน 2 โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 65 การสร้างวัดม้าขาว โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 64 ความเชื่อเรื่องยาอายุวัฒนะในลัทธิเต๋า โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 63 สาเหตุแห่งความเชื่อเรื่องเซียน โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 62 พุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีน โดย อาจารย์แอน