- ฮวงจุ้ยพื้นฐาน
- รูปภาพและความหมาย
- ฮวงจุ้ยสำนักงาน
- ฮวงจุ้ยที่ดิน
- ฮวงจุ้ยร้านค้า
- ฮวงจุ้ยบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
- ข้อห้ามเกี่ยวกับการเลือกที่อยู่อาศัย
- ทำเลเสียดูอย่างไร
- ดาว ๙ ยุคคืออะไร
- ดวงจีน
- การดูลักษณะภูเขา
- กรณีศึกษาฮวงจุ้ย
- ประสบการณ์การดูทำเลของอาจารย์แอน
- คำคม..ข้อคิด
- เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
- เกร็ดความรู้ที่ได้จากวรรณคดี
- บทความพิเศษ
4 ก.ค. 2556
สรุปบทความจากรายการ
"สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 19 จิ้นบุ้งกง กับที่มาของเทศกาลเช็งเม้ง"
ออกอากาศทาง TNN2 Truevision ช่อง 8 ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 20.20 - 20.30น.
จากตอนที่แล้วที่เราพูดถึงสองราชวงศ์ เซี่ย ซาง และแล้วตอนนี้ก็มาถึงราชวงศ์โจวที่ล้มล้างราชวงศ์ซางก่อตั้งราชวงศ์โจวได้เป็นผลสำเร็จ
ก่อนก่อตั้งราชวงศ์โจว มีสงครามใหญ่ เมื่อเข้าสู่ราชวงศ์โจวแล้วคิดว่าสงครามใหญ่จะจบสิ้นลง แต่ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเพราะว่าประเทศจีน การบริหารบ้านเมืองการจัดการในระยะแรกนั้น ซึ่งแม้จะเป็นปึกแผ่นและมั่นคงด้วยฝีมือของโจวกง ซึ่งวางระเบียบไว้ว่า ขุนศึกก็ดี หรือว่าผู้ที่แซ่เดียวกันรวมถึงเชื้อพระวงศ์ ก็จะได้รับมอบหมายไปปกครองในเมืองต่างๆ เรียกว่าเป็นผู้ครองแคว้น เพราะฉะนั้น ในตอนนั้นจึงมีแคว้นใหญ่น้อยมากมาย เมื่อเวลาผ่านไปจนกระทั่งสมัยที่ย้ายเมืองหลวงเป็นลั่วหยาง ซึ่งเรียกว่า สมัยโจวตะวันออก ตอนนั้น ขุนศึกต่างก็ชิงความเป็นใหญ่ เจ้าผู้ครองก็มี รัฐฉี รัฐฉู่ รัฐเว่ย และยังมี แคว้นอู๋ ที่ขุนศึกตั้งตนเป็นใหญ่ตีรัฐเล็กรัฐน้อยกลายเป็นแคว้นใหญ่ ยังมีรัฐซ้ง รัฐจิ้นซึ่งมีขนาดใหญ่มากเสียจนในเวลาต่อมาสามารถแบ่งออกเป็น 3 รัฐด้วยกัน ก็คือ เจ้า เว่ย และหาน
รัฐจิ้น (秦) มีเจ้าผู้ครองนครที่มีชื่อเสียงที่สุดจนนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ก็คือจิ้นบุ้นกง ทราบหรือไม่ว่า ยังเป็นที่มาของวันเช็งเม้ง (清明节)และเทศกาลหานสือเจี๋ย (寒食节) จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ด้วย
เรื่องราวมีอยู่ว่า ครั้งที่จิ้นบุ้นกงที่ในตอนที่ยังเป็นรัชทายาทอยู่มีนามว่า ฉงเอ๋อ (重耳) ในยามยากลำบาก ไปได้คนคนหนึ่ง เป็นชาวบ้านป่า มีนามว่า เจี้ยจือทุย (介子) เป็นคนที่ซื่อสัตย์จงรักภักดี คอยดูแลและคอยหาอาหารให้ในยามที่ลำบาก เรียกว่าตกระกำลำบากมาด้วยกัน แต่หลังจากที่ฉงเอ๋อได้ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองแคว้นใหญ่ คือ แคว้นจิ้น มีนามว่า จิ้นบุ้นกง (晋文公) กลับลืมปูนบำเหน็จไปคนหนึ่ง ทว่าเจี้ยจือทุยก็ไม่ได้น้อยเนื้อต่ำใจ เดินทางกลับบ้านมาดูแลมารดา
วันหนึ่งฉงเอ๋อหรือจิ้นบุ้งกงนึกขึ้นมาได้ก็ไปตามกลับมา ปรากฏว่าสถานที่ที่เขาไปดูแลมารดาอยู่บนภูเขา ด้วยความที่จิ้นบุ้นกงเป็นทหารก็มีความรู้สึกว่า การตามหาเจี้ยจือทุยในภูเขาคงจะหาตัวได้ลำบาก จึงให้จุดไฟเผาขึ้นไปบนภูเขาแล้วเจี้ยจื่อทุยคงวิ่งลงมาเอง แต่จนแล้วจนรอดไม่มีใครวิ่งลงมา
ในที่สุด ก็ต้องขึ้นไปตามหา ปรากฏว่าเห็นเจี้ยจื่อทุยและมารดานั้นเสียชีวิตอยู่ในกองไฟ เป็นที่สลดใจของจิ้นบุ้นกงเป็นอันมาก ดังนั้น ประมาณวันที่ 2-8เดือนเมษายน จะมีอยู่ 1วันที่เราอาจเรียกว่าวันสุกดิบก่อนวันเช็งเม้งก็ได้ เรียกว่า วันหานสือเจี๋ย เป็นวันที่ไม่มีการจุดไฟในวันนั้น ทุกคนจะทานอาหารสด อาหารเย็น แล้ววันรุ่งขึ้นก็จะเป็นวันไหว้บรรพบุรุษ เพราะจิ้นบุ้นกงสำนึกในบุญคุณของเจี้ยจื่อทุย ก็เลยไหว้แม่ของเจี้ยจื่อทุยด้วย เพราะสอนลูกมาดีให้เป็นคนกตัญญู ก็เป็นที่มาของเทศกาลเช็งเม้ง ต่อมา ในสมัยราชวงศ์ฮั่นและราชวงศ์ถัง ก็ได้ปรับเปลี่ยนเป็นการไหว้บรรพบุรุษจริงๆ
ครั้นมาถึงสมัยฮ่องเต้องค์หนึ่งในราชวงศ์หมิง ซึ่งตอนนั้นได้เป็นเจ้าผู้ครองนครหรือว่าเป็นฮ่องเต้แล้ว จะกลับไปบ้านเดิมของพ่อแม่ ก็ไม่รู้ว่าฝังอยู่ที่ไหนก็เลยใช้การเสี่ยงทายโปรยกระดาษเงินกระดาษทองขึ้นไปบนท้องฟ้า หากว่าตกอยู่ที่ใดก็ถือว่าตรงนั้นเป็นสุสานของบิดามารดา จึงเป็นที่มาของประเพณีการไหว้บรรพบุรุษแล้วยังมีการโปรยกระดาษอีกด้วย
ชมรายการย้อนหลังได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=ukcR6ARwulY