- ฮวงจุ้ยพื้นฐาน
- รูปภาพและความหมาย
- ฮวงจุ้ยสำนักงาน
- ฮวงจุ้ยที่ดิน
- ฮวงจุ้ยร้านค้า
- ฮวงจุ้ยบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
- ข้อห้ามเกี่ยวกับการเลือกที่อยู่อาศัย
- ทำเลเสียดูอย่างไร
- ดาว ๙ ยุคคืออะไร
- ดวงจีน
- การดูลักษณะภูเขา
- กรณีศึกษาฮวงจุ้ย
- ประสบการณ์การดูทำเลของอาจารย์แอน
- คำคม..ข้อคิด
- เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
- เกร็ดความรู้ที่ได้จากวรรณคดี
- บทความพิเศษ
19 มิ.ย. 2556
สรุปบทความจากรายการ
"สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 15หอหลิงไถ"
ออกอากาศทาง TNN2 Truevision ช่อง 8ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 19.50 - 20.00น.
เราคงเคยได้ยินเรื่องราวที่จักรพรรดิเฉียนหลงสร้างหอดูดาว ที่ทุกวันต้องให้ขุนนางขึ้นไปบนหอดูดาว แล้วให้ดูว่าดาวดวงไหนทิศใดส่องแสงสุกสว่าง เผื่อว่าจะมีคนมาแข่งบุญบารมี มีเกร็ดเล็กๆ เป็นเรื่องราวครั้งที่พระเจ้าตากสินกำลังกู้ชาติบ้านเมือง ว่าขุนนางจีนเห็นดวงดาวที่สุกใสสว่างปรากฏขึ้นทางทิศใต้ จักรพรรดิเฉียนหลงถามว่า มีใครหนออยู่ทางด้านใต้ ดาวจึงได้สุกสว่างถึงเพียงนั้น ก็ได้ทราบต่อมาภายหลังว่า มีบุตรชายของชาวจีนนามว่า ไหฮอง ไปเป็นใหญ่ทางภาคใต้ของประเทศจีน ฃึ่งก็คือ ประเทศไทยนั่นเอง
หอดูดาวของจักรพรรดิเฉียนหลงซึ่งอยู่ในสมัยราชวงศ์ชิง ราชวงศ์สุดท้ายที่ตรงกับรัชกาลที่ 4ของเรา ไม่ใช่หอดูดาวหลังแรก หอดูดาวหลังแรกมีขึ้นเมื่อ 3,000 ปีที่แล้ว ในช่วงตอนปลายราชวงศ์ซาง ก่อนขึ้นราชวงศ์โจว ที่เราได้เล่าติดต่อสืบเนื่องกันมาหลายตอนแล้วนี่เอง
หอดูดาวนี้มีชื่อว่า หอหลิงไถ หรือลู่ไถ ซึ่งเรียกตามท้องถิ่น เหตุผลในการสร้างหอดูดาวขึ้นมา ก็สืบเนื่องมาจากความหลงใหลในสนมต้าจี ผู้ที่มีความงามเป็นเลิศ จนกระทั่งจักรพรรดิราชวงศ์ซาง คือซางโจ้วอ๋อง บอกว่าเธอมีความงามแบบนี้ หากว่าปรารถนาดาวเดือน ฉันก็หาให้ได้ ต้าจีตอบว่าหม่อมฉันไม่อยากได้ดาวเดือน แต่อยากอยู่ใกล้ดาวเดือนมากที่สุด วันใดพระจันทร์เต็มดวง ฝ่าบาทและหม่อมฉันจะได้เห็นพระจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดและเมื่อซางโจ้วอ๋องอยู่เหนือคนในใ
ต้หล้าก็สมควรจะอยู่ในที่สูงที่สุด
ในสมัยนั้น เมืองหลวงคือ เฉาเกอ ซึ่งยุคต่อมาเรียกว่าเสียนหยาง ไม่มีภูเขาลูกไหนที่สูงเลย ภูเขาที่ใกล้ที่สุดคือ เขาหลีซานก็อยู่ไกลเหลือเกิน หลีซานอยู่ออกไปทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ
ดังนั้น จึงมีดำริจะสร้างหอที่สูงที่สุดขึ้นมา คือ หอหลิงไถ
ความน่าสนใจของหอดูดาวหลิงไถ ก็คือ สร้างตามหลักที่เราเอามาอ่านแล้วเสมือนหนึ่งเป็นปากัวในสมัยนี้
หอหลิงไถตั้งอยู่กึ่งกลาง ถูกล้อมรอบด้วยหอเล็กหอน้อย หอใหญ่ทั้ง 8ทิศ หอเหล่านั้นจะเรียกว่าเป็นเก๋งจีนก็ว่าได้ มีน้ำทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบไปด้วยสวนดอกไม้ทางด้านตะวันออก ปกติทางด้านตะวันออกในทางหลักของปากัวจัดว่าเป็นธาตุไม้อยู่แล้ว ตะวันออกเฉียงใต้สามารถมีน้ำได้ โดยหอดูดาวนี้หันหน้าไปในแนวเหนือใต้ ต่อมาการสร้างเมืองแห่งราชวงศ์โจว ก็อยู่ในแนวเหนือใต้ ประตูเมืองแม้จะอยู่ได้รอบ ได้ทุกทิศก็จริง แต่ประตูเมืองหลักจะอยู่ทางด้านทิศใต้ คือหันหลังให้กับทางด้านตอนเหนือซึ่งมักมีพายุทรายพัดผ่านอยู่เสมอ หอหลิงไถก็เช่นเดียวกันหันหน้าไปทางด้านทิศใต้
แนวเหนือใต้ ชาวจีนถือกันมานานแล้ว ว่าเป็นแกนของโลกมีความเข้มแข็งและแข็งแรง เชื่อกันว่า เป็นการก่อสร้างที่ไม่ขัดต่อหลักธรรมชาติ สร้างตามแกนของโลกหรือแผ่นดิน จะทำให้สิ่งปลูกสร้างนั้นอยู่ยาวนาน แต่ไม่จริงในกรณีนี้ เพราะหอหลิงไถนั้นก็ถูกเผาจนหมดในเวลาต่อมาโดยกองทัพของต้าโจว หรือผู้ก่อตั้งราชวงศ์โจว หรือของโจวหวินหวาง เมื่อเข้าสู่พระนครเฉาเกอ ก็เผาผลาญหมดสิ้น แล้วก็สร้างเมืองใหม่ขึ้นมา ฃึ่งก็ยังอยู่ในแนวเหนือใต้อยู่ดี กลายเป็นว่าการสร้างเมืองของราชวงศ์โจวอยู่ได้ถึง 800 ปี ในขณะที่หอหลิงไถอยู่ในแนวเหนือใต้ ทั้งนี้มีความแตกต่าง หอหลิงไถเป็นแนวสูง ยาว แต่ว่าในลักษณะในการสร้างวังหรือการสร้างเมืองของราชวงศ์โจวนั้น รูปทรงจะเป็นลักษณะของสี่เหลี่ยม ที่หมายถึงรากฐาน คือ แผ่นดินนั่นเอง แต่หอหลิงไถเป็นการสร้างที่เรียกว่าไปถึงฟ้า แต่ว่าไม่คำนึงถึงดิน จึงอยู่ได้ไม่นาน ส่วนเมืองโจวนั้น ราชวงศ์โจวสร้างในลักษณะที่ว่าคำนึงถึงแผ่นดิน ดินคือรากฐาน รากฐานคือประชาชน จึงสามารถอยู่ได้ยั่งยืนถึง 800 ปี
ชมรายการย้อนหลังได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=5pD3zh-iYPw&feature=c4-overview&list=UU0uiwdw4_SQY7ROPcrNYEmg