สาระจากเมืองมังกร

 

สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 13 เกร็ดตำนาน การเสี่ยงทายกระดองเต่า โดย อาจารย์แอน
10 มิ.ย. 2556

 

 

สรุปบทความจากรายการ "สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 13 เกร็ดตำนาน การเสี่ยงทายกระดองเต่า"ประวัติศาสตร์จีน, เสี่ยงทาย, กระดองเต่า, ราชวงศ์โจว, อึ่งตี้, เจียงจื่อหยา


โดย อ.ษณอนงค์ คำแสนหวี (อาจารย์แอน)
 

ออกอากาศทาง TNN2 Truevision ช่อง 8ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 19.50 - 20.00น

 

     ในตำนานเรื่องราวของการรบล้มล้างราชวงศ์ซางและก็ก่อตั้งราชวงศ์โจว จัดเป็นการรบครั้งยิ่งใหญ่เหมือนมหากาพย์ คล้ายกับรามเกียรติ์ เหมือนสงครามกรุงทรอยก็ว่าได้ เพราะเหล่าเทพเซียนต่างก็ลงมาร่วมรบกันทั้งสิ้น

 

มีอยู่เรื่องหนึ่งที่เอ่ยถึง เป็นการแสดงว่าเรื่องนี้มีมานานแล้ว คือ การอ่านหรือเสี่ยงทายโดยใช้กระดองเต่า ส่วนมากจะเข้าใจว่าคงจะเกิดขึ้นในยุคสมัยราชวงศ์เซี่ย ซาง โจว สามราชวงศ์นี้ซึ่งมีปรากฏในประวัติศาสตร์ แต่ความจริงแล้วเรื่องของกระดองเต่ามีมาก่อน

 

เรื่องราวของเจียงจื่อหยาในวันที่เริ่มมีการรบครั้งแรก ด้วยการเปล่งวาจาว่า เราจะล้มล้างราชวงศ์ซาง เราจะก่อตั้งกองทัพขึ้นมา แล้วก็มีการเสี่ยงทายด้วยกระดองเต่า เจียงจื่อหยาเห็นดังนั้นจึงบอกว่า ถ้าหากเหล่านักรบมัวมานั่งเสี่ยงทายอยู่อย่างนี้จะรบชนะได้อย่างไร และถ้าหากว่าผลของการเสี่ยงทายด้วยกระดองเต่าปรากฏออกมาว่ารบแล้วแพ้ ยังจะรบอยู่หรือเปล่า แล้วทำไมจะต้องมาทำลายขวัญกำลังใจกันเอง จากนั้นเจียงจื่อหยาก็เอากระดองเต่านั้นขว้างกระจายไป เรื่องนี้คล้ายกับเรื่องราวในสมัยอยุธยาตอนกลาง เป็นเรื่องราวของขุนพิเรนทรเทพ ทุกท่านคงจำได้ ในที่นี้คงไม่เอ่ยถึงเพราะเราจะพูดถึงเรื่องประเทศจีน

ประวัติศาสตร์จีน, เสี่ยงทาย, กระดองเต่า, ราชวงศ์โจว, อึ่งตี้, เจียงจื่อหยา
 

ตามประวัติ กระดองเต่านั้นมีปรากฏครั้งแรก ในสมัยจักรพรรดิอึ้งตี่ ฃึ่งในสมัยนั้น ยังเรียกกันว่าเป็นชนชั้นหัวหน้าเผ่า ดังที่เล่ามาตั้งแต่ต้นว่ามีความเกี่ยวพันรูปลักษณ์ของมังกร สายน้ำของฮวงโหที่เปรียบเสมือนลำตัวของมังกร นั่นเป็นความเปรียบของยุคแรกๆ มีการพบกระดองเต่ามาเกยฝั่งโดยชาวประมง ชาวบ้านก็เอามาแปลความหมายว่ากระดองเต่าที่พบนั้นมีความหมายว่าอย่างไร เพราะเป็นยุคของการเชื่อโชคลางอยู่แล้ว พวกเขามองเห็นที่หลังกระดองเต่ามีลายขีด อักษรในกระดองเต่าที่เขาอ่านออกมารวมกันทางใดก็ได้ 15ดังที่ปรากฏกลายเป็น ปากัว ดาวเก้ายุค หรือที่ใช้ในหลักฮวงจุ้ยในปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าสืบเนื่องมาจากกระดองเต่าที่ค้นพบโดยชาวประมงและนักปราชญ์ คือเราต้องใช้คำว่านักปราชญ์เพราะเขาสามารถนำกระดองเต่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ แทนที่จะตีเป็นตัวเลขแล้วโยนทิ้งไป

 

แน่นอนในช่วงแรกๆ เพียงใช้ในการเสี่ยงทายด้วยการโยน
 

กระดองเต่ามีลักษณะเป็นโค้งมน ถ้าหงายแสดงว่ายิ้ม ถ้าคว่ำแสดงว่าปิดปาก และมีความหมายว่าการนั้นจะไม่สำเร็จแต่บนหลังกระดองเต่ากลับมีความหมายมากกว่านั้น ในการพยากรณ์ แสดงว่าชาวจีนมีความเชื่อถือในเรื่องพยากรณ์นี้มานานนับกว่า 3000 ปี

 

เรื่องราวที่ปรากฏในสมัยเจียงจื่อหยา ไม่ใช่ว่าเจียงจื่อหยาไม่เชื่อ แต่เขาถือว่าเป็นการใช้ที่ผิดโอกาส ผิดเวลา จึงไม่เกิดประโยชน์ จำไว้นะคะ ศาสตร์เหล่านี้ใช้ประโยชน์ในบางเรื่อง บางเวลา เพื่อให้กำลังใจไม่ใช่เพื่อทำลายขวัญ ดังนั้น การใช้ศาสตร์เหล่านี้ เราจะไม่เรียกว่างมงาย แต่เราเรียกว่า ใช้ให้ถูกจังหวะ ถูกเวลาและก็โอกาสด้วย

 ประวัติศาสตร์จีน, เสี่ยงทาย, กระดองเต่า, ราชวงศ์โจว, อึ่งตี้, เจียงจื่อหยา

 

 

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 72 พิธีเซ่นบวงสรวงเริ่มจากธรรมชาติ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 71 นิมิตลางบอกเหตุ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 70 สิ่งประดิษฐ์ของชาวจีนโบราณ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 68 พระจีนอ้วน เซียงเต็งจื้อ โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 67 ทวารบาลทั้ง 4 โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 66 การสร้างวัดม้าขาว ตอน 2 โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 65 การสร้างวัดม้าขาว โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 64 ความเชื่อเรื่องยาอายุวัฒนะในลัทธิเต๋า โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 63 สาเหตุแห่งความเชื่อเรื่องเซียน โดย อาจารย์แอน
  • สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 62 พุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีน โดย อาจารย์แอน