- ฮวงจุ้ยพื้นฐาน
- รูปภาพและความหมาย
- ฮวงจุ้ยสำนักงาน
- ฮวงจุ้ยที่ดิน
- ฮวงจุ้ยร้านค้า
- ฮวงจุ้ยบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
- ข้อห้ามเกี่ยวกับการเลือกที่อยู่อาศัย
- ทำเลเสียดูอย่างไร
- ดาว ๙ ยุคคืออะไร
- ดวงจีน
- การดูลักษณะภูเขา
- กรณีศึกษาฮวงจุ้ย
- ประสบการณ์การดูทำเลของอาจารย์แอน
- คำคม..ข้อคิด
- เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
- เกร็ดความรู้ที่ได้จากวรรณคดี
- บทความพิเศษ
8 มิ.ย. 2556
สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 11 เกร็ดตำนาน ความดีของโจวกง
โดย อ.ษณอนงค์ คำแสนหวี (อาจารย์แอน)
สรุปบทความจากรายการ
ออกอากาศทาง TNN2 Truevision ช่อง 8 ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 19.55 - 20.00 น.
ที่ผ่านมา เป็นการเกริ่นเรื่องราวของประวัติศาสตร์จีน จัดเป็นยุคพงศาวดารตำนานเทพก็ว่าได้ ขณะเดียวกันก็แสดงถึงอารยะธรรมของประเทศจีน ที่มีมายาวนานมาก ในช่วงแรกๆ ประมาณ 3,000 ปีมาแล้วนั้น มีนักปราชญ์ นักปรัชญา รวมถึงการสร้างสรรสิ่งต่างๆ มากมายที่กลายมาเป็นแบบแผน ศาสนประเพณี ซึ่งเป็นสิ่งที่สอนและเตือนใจชนรุ่นหลังสืบต่อมา
แม้กระทั่งในสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งเป็นยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการศึกษาและศาสนา ยุวกษัตริย์ทั้งหลายหรือฮ่องเต้น้อยต้องร่ำเรียนเรื่องราวเกี่ยวกับนักปราชญ์ แนวความคิดและการปกครองของฮ่องเต้ในสมัยยุคแรกๆ เหมือนกัน เนื่องจากว่ายุคแรกมีแนวปรัชญาในการปกครองประเทศอย่างมากมาย
บุคคลสำคัญในอดีตที่เรายังต้องเอ่ยถึงอยู่มีหลายคนเลยทีเดียว และหนึ่งในจำนวนนั้นที่เคยเอ่ยอ้างมาแล้วก็คือ ท่านโจวกง (周公)
ผู้คนก็มักจะเข้าใจว่าโจวกง กับเจียงจือหยานั้นเป็นคนคนเดียวกัน แต่ความจริงไม่ใช่ เจียงจือหยา (姜子牙) เป็นที่ปรึกษาซึ่งเราก็จะได้เรียนรู้ประวัติเรื่องราวของท่านในภายหลัง
โจวกงต้องถือว่าเป็นพระอนุชาองค์ที่ 4 ของราชวงศ์ต้าโจว (Zhou Dynasty) ถือว่าเป็นผู้ร่วมก่อตั้งราชวงศ์โจวร่วมกับโจวเหวินหวางผู้เป็นบิดาและช่วยเหลือสนับสนุนให้โจวอู่หวางผู้เป็นพี่ชายบริหารประเทศในเวลาต่อมา โจวกง มีนามเดิมว่า จีตั้น (姬旦) เป็นผู้ที่มีความฉลาดปราดเปรื่อง มีความสามารถในการบริหารบ้านเมืองอย่างยอดเยี่ยม สามารถพูดได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองบ้านเมืองในยุคใดสมัยใดต้องเรียนรู้ระเบียบแบบแผนที่โจวกงได้วางเอาไว้ ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานให้กับราชวงศ์โจว
โจวกงเป็นผู้บริหารที่ดี ไม่ละเลยรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ โจวกงจะต้องรู้ ต้องเห็น ต้องดู ทั้งเรื่องราวของผู้น้อยผู้ใหญ่ โจวกงจะต้องเข้าไปสัมผัสด้วยตัวเองเสมอ โจวกงจะมีวาจาสุภาพ เป็นผู้บริหารที่ทหารและนักการเมืองในสมัยนั้นรักทุกคน ยกตัวอย่างเช่น ในระยะแรกๆ ที่มีการรบระหว่างราชวงศ์ซางกับราชวงศ์โจว ซางโจ้วอ๋องซึ่งเป็นฮ่องเต้ของซางและมีความสามารถในการทำศึกทำให้ หนานกงแม่ทัพคนหนึ่งของฝ่ายโจว รบแพ้ และต้องถูกลงโทษตามอาญาศึก เจียงจื่อหยาเป็นที่ปรึกษาก็ต้องถูกลงโทษเช่นเดียวกัน นั่นเป็นการแสดงความรับผิดชอบ แต่โจวกงบอกว่าในเมื่อเขาเป็นนายใหญ่ที่สุดเขาต้องมีส่วนรับโทษด้วยเช่นกัน อันนี้เป็นเกร็ดตำนานที่ทหารเล่าสืบต่อกันมาด้วยความชื่นชมว่า ผู้เป็นนาย ผู้ที่เป็นอาจารย์ หรือว่าผู้ที่เหนือกว่าจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในความผิดของลูกน้อง
ดังนั้น เมื่อหนานกงถูกลงโทษให้เฆี่ยน 100 ที เจียงจือหยาก็ขอรับไป 50 ที โจวกงก็บอกว่าใน 100 เขาควรต้องรับ 50 และอีก 50 ให้ลูกน้องรับไป ดังนั้นเจียงจือหยาจึงโดนเฆี่ยน 25 หนานกงแม่ทัพรับไป 25 ปรากฎว่าทหารทุกคนไม่ยอม เนื่องจากว่าโจวกงเป็นผู้ใหญ่แล้ว ก็เลยถอดเสื้อแล้วเฆี่ยนที่เสื้อนั้นแทน อันเป็นแบบอย่างในการทำโทษของฮ่องเต้ในเวลาต่อมา
หรือ ชมรายการได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=WcSLs1RQBnA