- ฮวงจุ้ยพื้นฐาน
- รูปภาพและความหมาย
- ฮวงจุ้ยสำนักงาน
- ฮวงจุ้ยที่ดิน
- ฮวงจุ้ยร้านค้า
- ฮวงจุ้ยบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
- ข้อห้ามเกี่ยวกับการเลือกที่อยู่อาศัย
- ทำเลเสียดูอย่างไร
- ดาว ๙ ยุคคืออะไร
- ดวงจีน
- การดูลักษณะภูเขา
- กรณีศึกษาฮวงจุ้ย
- ประสบการณ์การดูทำเลของอาจารย์แอน
- คำคม..ข้อคิด
- เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
- เกร็ดความรู้ที่ได้จากวรรณคดี
- บทความพิเศษ
8 มิ.ย. 2556
สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 10 เนื้อเขาใจเรา (ข้อคิดจากเอี้ยนอิง)
โดย อ.ษณอนงค์ คำแสนหวี (อาจารย์แอน)
รัฐฉี ผู้ซึ่งมีอำนาจก่อนใครๆ ก็มีเวลาที่จะเสื่อมโทรมเพราะหลังจากรัฐสมัยของฉีหวนกงกับเสนาบดีก้วนจงแล้ว ก็เข้าสู่บัลลังก์เลือด หมายถึงมีการแก่งแย่งชิงอำนาจ เจ้าผู้ครองนครของรัฐฉีจึงอ่อนกำลัง อ่อนแอลงเรื่อยๆ จนกระทั่งมาถึงสมัยเสนาบดีคนสำคัญคนหนึ่ง ซึ่งก้าวมาจากนายอำเภอเมืองเล็กๆ ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรืออัครมหาเสนาบดีของรัฐฉี ทำให้รัฐฉีกลับมาฟื้นฟู ซึ่งตอนนั้นเข้าสู่ปลายชุนชิวแล้ว บุคคลผู้นี้ก็คือ เอี้ยนอิง宴子 (เยี่ยนจื่อ; หรือเอี้ยนอิง, เอี้ยนจื่อ)
เอี้ยนอิงเป็นเสนาบดีที่แตกต่างจากก้วนจงค่อนข้างมาก คือเป็นคนตรงไม่กลัวใคร และก็เป็นคนกล้าที่จะพัฒนาโดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ช่วงที่เป็นนายอำเภอก็ไม่เคยรับสินบนใดๆ ทั้งสิ้น และมีความเชื่อว่า ทำความชั่วก็ต้องได้รับผลแห่งความชั่วนั้น ถ้าทำความดีก็ได้รับผลแห่งความดี เป็นบุคคลที่ตรงมากที่สุด ถ้าเราจะเปรียบเทียบคนที่เรารู้จักดีที่สุด ก็คือ เปาปุ้นจิ้น
เอี้ยนอิงได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุด เพราะว่ามีการปฏิวัติแย่งชิงอำนาจ เสนาบดีผู้เป็นใหญ่ในขณะนั้นก็ได้ปลดกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองนครองค์เดิม แล้วก็แต่งตั้งองค์ใหม่ซึ่งเป็นหลานขึ้นมาเป็นแทน นัยว่าสามารถจะชักเชิดได้ แล้วก็พยายามที่จะฆ่าคนเก่าๆ เรียกว่าเปลี่ยนน้ำเปลี่ยนระบบขึ้นมาใหม่ แต่เขาไม่สามารถที่จะทำร้ายหรือว่าทำลายเอี้ยนอิงได้ เนื่องจากเอี้ยนอิงเป็นคนที่มีฝีมือ คนที่มีฝีมือก็ต้องมาบริหารบ้านเมือง เพราะตอนนั้นรัฐฉีอ่อนแอมาก จนอาจจะถูกรวมกับรัฐอื่นก็ได้ ดังนั้น เอี้ยนอิงจึงถูกดึงตัวเข้ามาทำงาน ในระยะแรก เอี้ยนอิงก็อาจจะเสมือนหุ่นเชิด แต่การที่เอี้ยนอิงขยันในหน้าที่การงาน ทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยและไม่เห็นแก่หน้าใครจนเป็นที่ไว้วางใจของเจ้าผู้ครองนครคนใหม่ นามว่า ฉีจิ่งกง
เอี้ยนอิงมักจะมีคำสอน ด้วยคำบอกและคำเล่า ก็คือเล่าว่าสมัยตัวเองเป็นนายอำเภอนั้นเจริญขึ้นมาอย่างไร บอกเล่าเหตุการณ์รอบๆตัวให้ฉีจิ่งกงฟังอยู่เสมอๆ แม้ว่าในบรรดาเจ้าผู้ครองนครในสมัยนั้น ฉีจิ่งกงก็ไม่ได้ฉลาดนัก แต่ก็ได้มหาเสนาบดีผู้นี้สอนให้รักประชาชน โดยบอกว่า เจ้าผู้ครองนครหรือกษัตริย์เปรียบเสมือนดั่งเรือ ประชาชนเหมือนน้ำ เรือจะตั้งอยู่ได้ก็ด้วยน้ำ
วันหนึ่ง ฉีจิ่งกงนั่งอยู่ท่ามกลางหิมะ เอี้ยนอิงเข้าไปหาแล้วก็ถาม รู้สึกเป็นอย่างไร เขาบอกอบอุ่นสบายมาก เอี้ยนอิงก็ถามย้ำอีกว่ารู้สึกเป็นอย่างไร ท่ามกลางอากาศหนาวมีหิมะตกอย่างนี้ เขาก็บอกว่าอบอุ่นสบาย ถึงหิมะตกหนักอย่างไรเราก็สบาย เอี้ยนอิงก็เล่าให้ฟังว่า เขาเพิ่งกลับจากในเมือง เห็นประชาชนหนาวตาย ก็ให้นึกถึงประชาชน ฉีจิ่งกงก็นิ่ง ถ้อยคำที่สอนก็คือ เนื้อเขาใจเรา คือนึกถึงใจเขาใจเรานั่นเอง ฉีจิ่งกงก็ได้คิดตอนนั้น
เมื่อเอี้ยนอิงสิ้นชีวิตไปแล้ว ลูกหลานค้นพบพินัยกรรมของเขา เขียนเอาไว้เป็นวาจาอมตะสั้นๆ ว่า
ผ้าอย่าตัดให้สั้นเพราะจะตัดเสื้อไม่ได้
สัตว์เป็นพาหนะอย่าใช้งานจนเหนื่อยเมื่อยล้าเพราะมันจะทำงานไม่ได้
ที่ดินที่เพาะปลูกอย่าปล่อยให้รกร้างเพราะมันจะเพาะปลูกไม่ได้
บ้านเมืองอย่าปล่อยให้เสื่อมโทรม เพราะว่าจะสูญสิ้นอำนาจและหมดกำลังไปในที่สุด
น่าคิดนะคะสำหรับพินัยกรรมของเอี้ยนอิง เสนาบดีคนที่สอง ของรัฐฉีที่มีความสามารถมากคนหนึ่ง
หรือ ชมรายการได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=RJn9YE8RwWw
และ ได้ที่ http://www.sana-anong.com/v2/tv_list.php?program=tv7