ความรู้เกี่ยวกับโหราศาสตร์

 

หลักทักษาในวิชาโหราศาสตร์ ตอนที่ ๔
27 ต.ค. 2558

 

กลอนชื่อ "สวัสดีรักษา" ของสุนทรภู่ ได้ได้มีการเขียนเกี่ยวกับเรื่องสีและทักษาดังนี้

 

อนึ่งภูษาผ้าทรงณรงค์รบ 

ให้มีครบเครื่องเสร็จทั้งเจ็ดสี 

วันอาทิตย์สิทธิโชคโฉลกดี 

เอาเครื่องสีแดงทรงเป็นมงคล 

เครื่องวันจันทร์นั้นควรสีนวลขาว 

จะยืนยาวชันษาสถาผล 

อังคารม่วงช่วงงามสีครามปน 

เป็นมงคลขัตติยาเข้าราวี 

 

ดาวอาทิตย์ออกสีแดง  แต่ในทางโหราศาสตร์ไทยกำหนดอาทิตย์เป็นสีส้ม เพราะถือว่าอาทิตย์ตอนรุ่งอรุณเป็นสีส้ม ส่วนในทางทักษาถือว่า อาทิตย์ที่แจ่มจ้าที่สุดเป็นช่วงที่อาทิตย์เลยบ่ายไปแล้ว สีแดง   โหราศาสตร์ไทยบอกอังคารสีชมพู ส่วนในทางสวัสดิรักษาเป็นม่วงคราม อมฟ้าอมน้ำเงิน  วันอังคาร ดาวจันทร์จะเป็นกาลกิณีตามทักษา มันมีหลักเกณฑ์อยู่อย่างหนึ่งว่า "ดาวกาลกิณีถ้าร่วมกับสีม่วง ศัตรูเห็นจะนึกรัก"  ดังนั้นถ้าคนเกิดวันอังคาร ใส่สีอะไรก็ได้แต่มีสีม่วงปน ก็จะไม่มีกาลกิณี

 

เครื่องวันพุธสุดดีด้วยสีแสด 

กับเหลือบแปดปนประดับสลับสี 

วันพฤหัสจัดเครื่องเขียวเหลืองดี 

วันศุกร์สีเมฆหมอกออกสงคราม 

 

วันพุธในทางโหราศาสตร์ไทยคือสีเขียว  สีเขียวพุธ หมายถึง ตัวปัญญา ความงอกงามของสติปัญญา หมายถึงพืชพรรณธัญญาหาร  ถ้าจะเอาสีเขียว ก็จะไปปนกับราหูซึ่งเป็นเขียวตองหรือเขียวอ่อน ก็เลยเอาสีที่เจิดจ้า ต้นข้าวเวลาโดนแดดจ้า  รวงข้าวจะออกสีเหลืองปนส้ม เป็นสีแสด เป็นมงคลสุดอุดมด้วยปัญญา  วันพุธ คนโบราณถึงห้ามตัดผมตัดเล็บหรือตัดทุกชนิด  เพราะเหมือนตัดสติปัญญา  วันพฤหัสปกติเป็นสีเหลือง เอาเหลืองอุดมสมบูรณ์แล้วกัน คือเหลืองออกเขียว   วันศุกร์ สีเมฆหมอกก็คือสีฟ้า

 

วันเสาร์ทรงดำจึงล้ำเลิศ

แสนประเสริฐเสี้ยนศึกจะนึกขาม

 

จริงๆแล้วสีดำไม่ใช่สีของราหูแต่เป็นสีของดาวเสาร์

 

หนึ่งพาชีขี่ขับประดับงาม

ให้ต้องตามสีสรรพ์จึงกันภัย

 

พูดง่ายๆ คือ ใช้ทั้งคนทั้งม้า